Page 69 - ภาษาไทย ม.ปลาย31001
P. 69

ห น า  | 69



                         1.2  ทรงมั่นในอุเบกขา  ทรงมีพระทัยที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงไมหวั่นไหวตอการกระทําใดๆ ที่จะ
               ทําใหพระองคทรงเกิดกิเลส

                         1.3  ทรงเปนผูรอบคอบ  เห็นไดจากการทํากําหนดคาตัวสองกุมาร  ซึ่งเปนพระโอรสและ

               พระธิดาที่พระองคประทานแกชูชก  เพื่อมิใหสองกุมารตองไรรับความลําบากและไดรับความเสื่อมเสีย
                       คุณคาของกัณฑทานกัณฑ

                       1.  คุณคาดานวรรณศิลป (ความงามทางภาษา)

               ทานกัณฑนี้ดีเดนในเชิงพรรณนาโวหาร  มีการใชโวหารที่ไพเราะและทําใหเกิดจินตภาพแกผูอาน เชน

               ตอนที่พระนางผุสดีพูดกับพระเวสสันดรใชถอยคําที่อานแลวซาบซึ้งกินใจ
               “วาโอพอฉัตรพิชัยเชตเวสสันดรของแมเอย         ตั้งแตนี้พระชนนีจะเสวยพระอัสสุชนธารา

               แมไปทูลพระบิดาเธอก็ไมโปรด  แมวอนขอโทษเธอก็ไมให...พระลูกเอย...แตนี้จะชุมชื่นไปดวยน้ําคาง

               ในกลางปา  พอจะเสวยแตมูลผลาตางเครื่องสาธุโภชนทุกเชาค่ํา  ถึงขมขื่นก็จะกลืนกล้ําจําใจเสวย...”
                       2.  คุณคาดานสังคม

                         2.1  ดานการปกครอง    ในเรื่องพระเวสสันดรจะเห็นวากษัตริยทรงฟงเสียงประชาชนเมื่อ

               ประชาชนลงมติใหเนรเทศพระเวสสันดร    เพราะเจาสญชัยก็ยอมเนรเทศแสดงใหเห็นถึงความเปน

               ประชาธิปไตย
                         2.2  สภาพสังคมที่ไมยอมรับหญิงมาย    หญิงใดเปนมายก็จะถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม

               จากสังคมและไมมีใครอยากไดเปนคูครอง

                       3.  ดานคานิยม

                         3.1  คานิยมเกี่ยวกับการทํางาน  โดยการทําทานเปนการเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษยและหวังใน
               ผลบุญนั้นจะสงใหตนสบายในชาติตอไป    ความคิดนี้ยังฝงอยูในใจคนไทยมาทุกสมัย    จึงนิยมทําบุญ

               บริจาคทาน

                         3.2  ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องชางเผือก    ชางเผือกถือวาเปนชางคูบารมีพระมหากษัตริย
               และความเชื่อนั้นยังปรากฏมาจนถึงปจจุบันนี้

                       4.  ดานความรู

                         ใหความรูเกี่ยวกับการสัตตสดกมหาทาน  ซึ่งในสมัยอยุธยาก็ปรากฏการทําทานลักษณะนี้ใน
               สมัยพระเจาปราสาททองและประเทศที่เปนเมืองขึ้นประเทศอื่นตองสงเครื่องบรรณาการมาถวาย
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74