Page 107 - เล่มหลักสูตรTNW2564
P. 107

หลักสูตรโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560)   หน้า 103

                                        คําอธิบายรายวิชา ค21201 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1

                รายวิชาเพิ่มเติม                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1                        เวลา 20 ชั่วโมง จํานวน 0.5 หน่วยกิต



                        ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคํานวณ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ฝึกการให้เหตุผลในการแก้ปัญหา ฝึกการเรียนรู้
               จากการปฏิบัติจริง ค้นคว้า วิพากษ์ สังเคราะห์ เขียนสรุปรายงาน และสร้างนวัตกรรม ในสาระที่เกี่ยวกับ

                        เลขยกกําลัง เลขยกกําลัง ที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวก การนําความรู้เกี่ยวกับเลขยกกําลังไปใช้ใน

               การแก้ปัญหา
                        มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ ภาพที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง

               ด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์

                        โดย การจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจําวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า
               ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการในการคิดคํานวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อ

               ความหมายทางคณิตศาสตร์ และนําประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ใน การ

               เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประวันอย่างสร้างสรรค์
                        เพื่อ ให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทํางานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบ มี

               วิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทํางาน รักความเป็นไทย
               มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์



               ผลการเรียนรู้
                        1. นักเรียนสามารถเขียนเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวกได้

                        2. นักเรียนสามารถหาผลลัทธ์ของการคูณและการหารเลขยกกําลัง เมื่อเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวกได้

                        3. นักเรียนสามารถเขียนจํานวนในรูปสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้
                        4. นักเรียนสามารถบอกหน้าตัดของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติได้

                        5. นักเรียนสามารถอธิบายภาพสองมิติที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิต

               สามมิติได้
                        6. นักเรียนสามารถบอกรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ได้

               รวม 6 ผลการเรียนรู้
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112