Page 48 - อิเหนา
P. 48

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               ไปเล่นเป็นตอนสั้น ๆ หลายตอน เช่น ตอนศึกจะมาหรากะปาหลัน ตอนสมโภชราชธิดากาหลัง ตอนพิธีสระ

               สนานที่เมืองกาหลัง จนกระทั่งอุณากรรณหนีไปบวชเป็นนางแอหนัง


                       ตอนโสกันต์สียะตรา เป็นตอนที่สียะตราเป็นหนุ่ม ออกตามหาอิเหนาและบุษบาโดยปลอมตัวเป็น
               ย่าหรัน จนกระทั่งเข้าเฝ้าท้าวกาหลัง


                       ตอนย่าหรันลักนางเกนหลง เป็นตอนสั้น ๆ ที่เป็นเรื่องย่อยซึ่งย่าหรันเป็นตัวเอก ไม่มีผลต่อโครงเรื่อง

               ใหญ่ที่เกี่ยวกับอิเหนาและบุษบา


                       ตอนระตูมะงาดาลักตัวย่าหรัน อันเป็นเหตุให้ปันหยีได้พบแอหนังจนกระทั่งได้ตัวสียะตรากลับคืนมา


                       ตอนสึกชี เป็นตอนที่อิเหนาและบุษบากลับมาอยู่ด้วยกันอีก ตั้งแต่อิเหนารู้ข่าวแอหนัง อิเหนาลวง

               นางเข้ามาในเมืองกาหลัง จนกระทั่งแอหนังสึกและคืนดีกันได้


                       ตอนต่อจากนี้ไม่ใช่พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 แท้ ๆ จึงไม่ได้ใช้แสดงละครในของหลวงในสมัยนั้น แต่ก็
               อาจนำมาแสดงละครได้บางตอน เช่นตอนย่าหรันรบระตูมะงาดา ตอนสังคามาระตารบท้าวล่าสำ ตอน

               จินตะหราคืนดีกับอิเหนา แต่บางตอนก็มีเนื้อหาที่ไม่น่านำมาแสดงเป็นละคร เพราะไม่สามารถดึงความสนใจได้

               เพียงพอ


                       เนื้อเรื่องอิเหนาแม้ว่าจะได้มาจากชวา แต่รายละเอียดในเรื่องเป็นแบบของไทย ดังที่

               สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า

                       “หนังสือบทละครอเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 นองจากเป็นหนังสือดีในทางวรรณคดีดังกล่าวมา
                                       ิ
                       ยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยแต่โบราณด้วยอกสถานหนึ่ง ด้วยประเพณีต่าง ๆ ที่มีใน
                                                                         ี
                       เรื่องอิเหนา ดังเช่นประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่ (เมื่ออิเหนาเกิด)ก็ดี  ประเพณีการพระเมรุ(ท ี่

                       เมืองหมันหยา)ก็ดี  ประเพณีรับแขกเมือง(เมื่องดาหารับทูตจรกา)ก็ดี  ประเพณีแห่สนานใหญ่(ที่

                       เมืองกาหลัง)ก็ดี  ประเพณีโสกันต์ (สียะตรา)ก็ดี  ทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราราชประเพณี

                       ทุกอย่าง แก้ไขแต่ ตรงที่ขัดกับเนื้อเรื่อง ดังเช่นในพระภิกษุสงฆ์เปลี่ยนเป็นฤาษีเป็นต้น  ถึงที่ว่าด้วย
                       ขนบธรรมเนียมในบ้านเมือง ตลอดจนว่าด้วยพื้นอัธยาศัยผู้คน ก็ทรงตรงตามลักษณะเป็นอยู่ในสมัยซึ่ง

                       ทรงพระราชนิพนธ์นั้นเป็นพื้น เว้นแต่ที่ขัดกับเนื้อเรื่อง จึงแก้เป็นอย่างอื่น นักเรียนผู้แสวงหาความรู้

                       ประเพณีไทยแต่โบราณ อาจจะศึกษาหาความรู้ได้ในบทละครอิเหนานี้เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น

                       จึงนับว่าวิเศษกว่าบทละครรำเรื่องอื่นที่เป็นตำราด้วยอีกอย่างหนึ่ง


               (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์,2554,น.285 – 287)






                                                                                                    หน้า | 45
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53