Page 3 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 3

บทพากย์เอราวัณ



               1. ประวัติความเป็นมา


                       รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ได้กล่าวถึงมหากาพย์รามายณะของอินเดีย ในหนังสือโอกาสใหม่ในโลกวรรณคดี

               ศึกษาว่า เป็นวรรณคดีที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังจะเห็นได้ว่ามีเรื่อง

               รามายณะฉบับภาษามลายู ชวา เขมร ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย แต่ละภาษามีหลายสำนวน และในแต่
               ละสำนวน เว้นแต่โครงเรื่องที่คล้ายคลึงกันแล้ว จะมีเนื้อความและรายละเอียดที่แตกต่างกันไปมาก

               อันเนื่องจากการหลอมรวมตำนาน นิทานพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ชาติ ค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
               เข้ากับเนื้อเรื่องเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายถอดกันมาทางมุขปาฐะ



                       รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ กล่าวต่อว่า ในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานว่าวรรณคดีเรื่องรามายณะแพร่หลาย
               เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็น่าจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่อิทธิพลของอินเดียเผยแพร่เข้ามาในเอเชีย

               ตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการค้า วัฒนธรรม และศาสนาฮินดู ดังปรากฏภาพจำหลักเรื่องมารายณะตาม
               โบราณสถานต่าง ๆ ของเขมร ชวา และปราสาทขอมในประเทศไทย เช่น ประสาทเขาพนมรุ้ง ชื่อ

               “ถ้ำพระราม” และพระนามของพ่อขุนรามคำแหงที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหลักฐานยืนยันว่าคนไทย

               รู้จักเรื่องรามายณะเป็นอย่างดีแล้วในสมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้น ส่วนการนำเรื่องรามายณะมาปรุงแต่ง
               ปรับใช้ในทางนาฏศิลป์เพอความรื่นรมย์ใจ เป็นบทพากย์หนังและบทพากย์โขนนั้น ปรากฏในสมัยอยุธยา ดังมี
                                    ื่
               วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก
                                                              ่

               1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับกรุงเก่า
               2. รามเกียรติ์คำพากย์

               3. รามเกียรติ์คำฉันท์

               4. ราชาพิลาปคำฉันท์
               5. โคลงพาลีสอนน้อง

               6. โคลงทศรถสอนพระราม


                       วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งได้รับความนิยมในสมัยอยุธยาส่งต่ออิทธิพลมาสู่การสร้างสรรค์เรื่อง

               รามเกียรติ์สำนวนต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก  ่


               7.บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี


                                                                            ้
               8. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช

               9. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย







                                                                                                                1
   1   2   3   4   5   6   7   8