Page 6 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 6

ต้องใช้บทพากย์เรื่องรามเกียรติ์ไว้พากย์ในการแสดงแต่ละตอน มีบทพระราชนิพนธ์บทพากย์รามเกียรติ์

                                                                                           2
               ของพระองค์ที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง 4 ตอน คือ ตอนนางลอย  ตอนนาคบาศ  ตอนพรหมาสตร์   และตอนหักคอ
               ช้างเอราวัณ บทพากย์รามเกียรติ์แต่ละตอนที่กล่าวมานี้ ใช้พากย์ในการแสดงโขนตอนนั้น ๆ ทุกตอนแสดงถึง

               พระปรีชาสามารถ ในทางด้านนาฏศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               ตอนนางลอย เป็นตอนที่แสดงอารมณ์อันลึกซึ้งทั้งด้านความรัก ความเสียดาย ความโกรธแค้นยิ่งขึ้น (กรม
               ศิลปากร,2525,น.155 – 156)


                       รื่นฤทัย สัจจพันธุ์กล่าวต่อว่า รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ

               หล้านภาลัยเป็นบทพากย์โขนและพากย์หนัง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดัดแปลงจาก

               บทพากย์ครั้งกรุงเก่า มี 4 ตอน คือ


               1.ตอนนางลอย  แต่งเป็นกาพย์ยานี 68 บท เนื้อความกล่าวถึงพระรามคร่ำครวญเมื่อพบศพนางสีดาซึ่งที่จริง
               คือนางเบญกายแปลง


               2.ตอนนาคบาศ  แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 11 บท เนื้อความกล่าวถึงพระลักษณ์ถูกศรนาคบาศของอินทรชิต

               พระรามเสด็จไปดูและช่วยเหลือ


               3.ตอนพรหมาสตร์  แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 20 บท เนื้อความกล่าวถึงอินทรชิต ประกอบพิธีชุบศรพรหมาสตร์


               4.ตอนเอราวัณ  แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 86 บท กาพย์ยานี 50 บท เนื้อความตั้งแต่อินทรชิตแปลงร่างเป็น

               พระอินทร์เพื่อลวงทัพพระลักษณ์และพระราม จนถึงพระลักษณ์ต้องศรพรหมาสตร์


                       รามเกียรติ์คำพากย์พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีความไพเราะ ถ้อยคำ
               กินใจ สะเทือนอารมณ์ นิยมใช้ในการแสดงโขนจนถึงทุกวันนี้ (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2563,น.34 - 35)
























               2
                 สะกดตามต้นฉบับ
                                                                                                                4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11