Page 5 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 5

“สำเร็จสนธสานนท์สำแดง               เขียนแล้วดัดแปลง

                              เป็นเกียรติยศพระรามา
                              เอาหนังพระโคมาจำหลัก                ให้เห็นประจักษ์อยู่กับตา

                              เชิญท่านทั้งหลายมา                  ชมแต่รูปเงาแทน”


                       คำพากย์รามเกียรติ์ที่แต่งขึ้นสำหรับเล่นหนังใหญ่เรียกว่าคำพากย์ยาว มีคำพากย์เป็นหลักและมี

               ตัวหนังเป็นอุปกรณ์ประกอบ เท่าที่ปรากฏต้นฉบับ ตกทอดมานั้นมีการดำเนินเรื่องติดต่อกัน เริ่มตั้งแต่
               ตอนนางสำมนักขาทูลทศกัณฐ์ ว่าพบนางสีดาซึ่งมีรูปโฉมงดงาม ทศกัณฐ์จึงไปลักนางสีดา ทำให้พระราม

               ออกติดตามและทำศึกกับทศกัณฐ์ไปจนถึงตอนกุมภกรรณล้ม ส่วนคำพากย์ที่ตัด เอามาจากคำพากย์ยาว

               เรียกว่าคำพากย์สั้นใช้ในการเล่นโขนซึ่งมีกระบวนรำเต้น เป็นหลัก และมีคำพากย์เป็นอุปกรณ์ประกอบ
                       คำพากย์สั้นดำเนินเรื่องเป็นตอน ๆ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น นางลอย เป็น บทครวญของพระรามซึ่งอาลัย

               รักนางสีดาเพราะเข้าใจว่านางเบญกายแปลงที่ทำ เป็นตายลอยน้ำมาหน้าที่ประทับนั้นคือนางสีดา นาคบาศ
               เป็นตอนที่มังกรกัณฐ์ บุตรพระยาขร (น้องทศกัณฐ์) ออกรบกับพระราม นอกจากนั้นยังมีบทพรรณนา

               ชมกระบวนรถศึกทั้งฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์

                       ต่อมาในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราช
               นิพนธ์คำพากย์บางตอนขึ้นมาใหม่ ได้แก่ คำพากย์นางลอย คำพากย์นาคบาศ และคำพากย์เอราวัณ (สำนักงาน

               คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2558,น.57 - 58)


                       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้ทรงทำนุบำรุงการละครและนาฏศิลป์สาขา

               ต่าง ๆ ให้เจริญรุ่งเรือง โขนก็นับเนื่องเป็นนาฏศิลป์สำคัญ ที่พระองค์ทรงส่งเสริมการแสดงโขนนั้นต้องใช้บท
               พากย์เรื่องรามเกียรติ์ไว้พากย์ในการแสดงแต่ละตอน จะมีบทพระราชนิพนธ์บทพากย์รามเกียรติ์ ของ

               พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง 4 ตอน คือ นางลอย นาคบาศ พรหมมาศ  และ
                                                                                                     1
               เอราวัณ


                       บทพากย์รามเกียรติ์แต่ละตอนที่กล่าวมานี้ใช้ในการแสดงโขนตอนนั้น ๆ ทุกตอนแสดงถึงพระปรีชา
               สามารถในด้านนาฏยศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนางลอย

               เป็นตอนที่แสดงถึงอารมณ์อันลึกซึ้งในด้านความรัก ความเสียดาย ความโกรธแค้น และความเศร้าโศก

               ของพระราม อันเป็นผลให้ผู้ได้ชมการแสดงและผู้ได้อ่านบทพากย์ตอนนั้น เกิดอารมณ์สะเทือนใจและเกิด
               ความประทับใจกันตลอดมา (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.307)


                       พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบำรุงการละครและนาฏศิลป์ต่าง ๆ ให้เจริญรุ่งเรือง โขน

               ก็นับเนื่องเป็นนาฏศิลป์ที่สำคัญ ซึ่งพระองค์ได้ทรงปรับปรุงทรงเสริมขึ้นเช่นเดียวกับการละคร ในการแสดงโขน




               1  สะกดตามต้นฉบับ

                                                                                                                3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10