Page 4 - ปกเล่มบทพากย์pdf
P. 4

10.โคลงอธิบายภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

               พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
               11.บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


               12. โคลงบรรยายภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

               พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


               13. บทร้องและคำพากย์เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงแปล

                                             ิ
               จากมหากาพย์รามายณะของวาลมีกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ
               14. บทละครเบ็ดเตล็ดและบทเบิกโรงต่าง ๆ


                       รื่นฤทัย สัจจพันธุ์กล่าวอีกว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความสนใจเรื่องรามเกียรติ์ของประเทศ

               เพื่อนบ้านด้วย  ดังมีการแปล คำพากย์รามเกียรติ์ภาษาเขมร เป็นภาษาไทย เขียนลงในสมุดไทย สมุดไทย

               เหล่านี้น่าจะเก็บรักษาไว้ในหอหลวงและในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมา
               เก็บรวบรวมมาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ คำพากย์รามเกียรติ์ภาษาเขมรซึ่งมีเนื้อความเป็นตอน ๆ ไม่สมบูรณ์

               นี้ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2448 และ พ.ศ.2449 ต่อมากรมศิลปากรให้

               ชำระขึ้นใหม่และจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2557 ดังที่ ศานติ ภักดีคำ สันนิษฐานไว้ว่า


                       “อาจจะเป็นไปได้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะโปรดให้ถ่ายทอดรามเกียรติ์
               เขมรชุดนี้มาเป็นอักษรไทยเพื่อทอดพระเนตรประกอบในการพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ดังนั้น

               จึงอาจเป็นได้ไปที่คำพากย์รามเกียรติ์เขมร ฉบับนี้จะแปลในสมัยรัชกาลที่ 1 ปี พ.ศ.2340 ซึ่งเป็นปีที่รัชกาล

               ที่ 1 พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์”


               (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2563,น.123 - 126)


                       กุสุมา รักษมณี กล่าวถึงการแสดงมหรสพในสมัยโบราณในหนังสือแนวทางการอ่านวรรณคดีและ
               วรรณกรรม เล่ม 3 ว่า มีการแสดงมหรสพต่าง ๆ เช่น หนังใหญ่ โขน ละคร ฯลฯ ซึ่งส่วนมากนำเรื่องทมีอยู่แล้ว
                                                                                                  ี่
               เช่น รามเกียรติ์ มาแต่งเป็นบทสำหรับการแสดง พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงมีความเห็น

               ว่า แต่ก่อน การแสดงเรื่องรามเกียรติ์มักแสดงเป็นหนังใหญ่ เมื่อเล่นหนังสนุกมากเข้า คนที่ เชิดหนังซึ่งต้อง
               เต้นเข้าจังหวะกับบทแล้วเอนเอี้ยวตัวตามบทอยู่แล้วคงคิดเล่น ตามลำพังโดยไม่เชิดหนังทำให้เกิดการแสดงโขน

               ขึ้นมา

                       บทพากย์รามเกียรติ์หรือที่โบราณเรียกว่าคำพากย์รามเกียรติ์นั้น แต่เดิม แต่งขึ้นสำหรับเล่นหนังใหญ่
               ดังปรากฏในคำพากย์สำนวนเก่าสำนวนหนึ่งใน ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 1 ว่า









                                                                                                                2
   1   2   3   4   5   6   7   8   9