Page 3 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 3
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ประวัติความเป็นมา
กุสุมา รักษมณี กล่าวว่า การแพทย์แผนโบราณของไทยเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมและสืบทอดกันมาช้า
นาน นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตระดับชาวบ้านแล้ว ยังปรากฏเป็นแนวพระราชนิยมในสมัยที่วิชาการ
แพทย์ของตะวันตกเป็นของแปลกสำหรับคนไทย ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่อง "หมอไทยแลยาไทย" ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ว่า
ขอเตือนว่าหมอฝรั่งนั้นดีจริง แต่ควรให้ยาไทยสูญหรือหาไม่หมอไทยควรไม่ให้มีต่อไปภาย
หน้าหรือควรจะมีไว้บ้าง ถ้าว่าส่วนตัวฉันเองยังสมัครกินยาไทยและยังวางใจหรืออุ่นใจในหมอไทยมาก
ั
ถ้าหมอไทยจะรักษาอย่างฝรั่งหมด ดูเยือกเย็นเหมือนเห็นอื่น ไม่เห็นพระเห็นสงฆ์เลยเหมือนกน…
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของ
ไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง แต่เท่าที่ได้มีการศึกษาเล่าเรียนและคัดลอกสืบทอดกันมาหลายชั่ว
อายุคนนั้นก็ผิดบ้างถูกบ้างและตำราต่าง ๆ ก็สูญหายไปมาก จึงน่าจะได้รวบรวมไว้ให้เป็นหลักฐานและเผยแพร่
ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป ใน พ.ศ. 2413 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประชุมคณะแพทย์หลวงเพื่อสืบค้นและรวบรวมตำราแพทย์จากที่ต่าง ๆ มา
ตรวจสอบชำระให้ตรงกับฉบับดั้งเดิม แล้วส่งมอบให้กรมพระอาลักษณ์เขียนลงสมุดไทยด้วยอักษรไทยเส้น
หรดาล (สีเหลือง) และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเป็นสมบัติของแผ่นดินสืบมา
ใน พ.ศ. 2432 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยขึ้น และต่อมา
ใน พ.ศ. 2438 ก็โปรดให้จัดพิมพ์ตำราแพทย์หลวงสำหรับโรงเรียนขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่า "ตำราแพทย์
ศาสตร์สงเคราะห์" โดยแบ่งพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ แต่พิมพ์ได้เพียง 3 เล่มก็ต้องเลิกไปเพราะมีอุปสรรคเรื่องทุน
รอนในการจัดพิมพ ์
ครั้นต่อมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์จากโรงเรียนราชแพทยาลัยได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนเวช
ี
สโมสรขึ้น และในพ.ศ. 2447 ได้จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์ขึ้นอก โดยใช้ชื่อว่า "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" ตาม
ฉบับแรก แต่จัดพิมพ์เป็นวารสารรายเดือน เนื้อหาของตำราชุดนี้เน้นวิธีการรักษาตามตำราแพทย์แผนฝรั่ง ส่วน
ใดที่ยังหายาฝรั่งไม่ได้ก็จะใช้ยาไทย วารสารแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ออกมาได้เพียง 4 ฉบับก็เลิกไปเพราะไม่มี
เงินทุน(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549,น.334 - 335)
หน้า 1