Page 8 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 8
….มนุษย์สามัญชนทั้งหลาย ย่อมมีความรักในชีวิตและสังขาร
ร่างกาย ยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวง… ในการนี้จำเป็นต้องอาศัยตำราที่มีหลัก ถูก
แบบแผน รวมกับความเข้าใจใคร่ครวญหาเหตุผลของผู้อ่านด้วย ทั้งสอง
อย่างนี้จะทำประโยชน์แก่ผู้นั้นพร้อมกันทั้งครอบครัว ในเมื่อประสบกับ
โรคภัยไข้เจ็บจะได้หายารับประทานได้ทันท่วงที มิให้โรคกำเริบเรื้อรังต่อไป….
เมื่อพิจารณาจากพระราชปรารภนี้จะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ มิได้ใช้เป็น
ตำราแพทย์เรียนเฉพาะใน “ราชแพทยาลัย” เท่านั้นหากยังเป็นตำราแพทย์ประจำบ้านสำหรับสามัญชนทั่วไป
ไว้ใช้ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวด้วย
เนื่องจากต้นฉบับตำรานี้ประกอบด้วยเนื้อหาที่รวบรวมไว้อย่างกว้างขวางรวม 14 คัมภีร์แต่ด้วยทุน
์
ิ
์
รอนจำกัดและอาจมีอุปสรรคบางประการการจัดพมพครั้งแรกจึงพิมพได้เพียง3เล่มเล็ก ๆ แล้วหยุดชะงักไป
ต่อมาเมื่อบรรดาแพทย์ประกาศนียบัตรสอบได้สำเร็จวิชาแพทย์จาก“ราชแพทยาลัย”แล้วก็ได้ร่วม
จัดตั้งโรงเรียน“เวชสโมสร” ขึ้นโรงเรียน “เวชสโมสร”นี้ขึ้นอยู่กับกรมสัมปาทิกสภากระทรวงศึกษาธิการและ
ได้ร่วมกันพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้นอีกในพุทธศักราช 2447 ให้ชื่อว่าแพทยศาตร์สงเคราะห์ตามฉบับแรกแต่ได้
กล่าวถึงวิธีการรักษาและตำราแพทย์แผนฝรั่งเป็นหลักผสานกับการใช้ยาไทยในส่วนที่ยังหายาฝรั่งแทนไม่ได้ใน
ครั้งนั้นแพทยศาสตร์สงเคราะห์ได้รับการจัดพิมพ์ในรูปแบบวารสารรายเดือนปีละ 12 ฉบับแต่ออกได้
เพียง 4 ฉบับก็ต้องล้มเลิกไปอีกเพราะหมดทุน
เป็นที่น่าสังเกตว่าตำราชุดนี้ได้สะท้อนให้เห็นแนวนโยบายระดับสูงของราชอาณาจักรสยามที่ได้
พยายามประสานการแพทย์แผนเดิมให้ใช้ควบคู่กันไปกับการแพทย์แผนตะวันตกทว่าอิทธิพลของแพทย์
แผนตะวันตกก็คงมาแรงและเริ่มมีกระแสงสูง ทั้งนี้อาจพิจารณาความเป็นจริงข้อนี้ได้ จากการที่สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลตอบพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับที่ได้อัญเชิญมาลงไว้แล้วข้างต้น ดังนี้
หน้า 6