Page 7 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 7
ั
แต่เดิมมา ตำรายาและคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย ส่วนใหญ่จารเป็นอกขระขอม ภาษาบาลีและ
ภาษาไทย ใช้อ่านและจดจำกันเช่นเดียวกับคัมภีร์เทศน์ธรรมะต่าง ๆ ในใบลาน สำหรับในราชสำนักสยามแต่
โบราณนั้น ขึ้นชื่อว่า “พระคัมภีร์แพทย์” หรือ “พระตำราหลวง”ก็คือตำราแพทย์ของราชสำนักนั่นเอง
พระตำราหลวงเหล่านี้ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เจ้านายส่วนใหญ่ก็เป็นแพทย์ พระมหากษัตริย์ไทยจึงทรงมี
พระคลังยาและคลังพระตำรา ที่มีชื่อเรียกว่า “คลังพระตำราข้างพระที่”เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าระดับ
ราชสำนัก เข้าใจว่าเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์
แม้ในสมัยรัชกาล 6 อันเป็นเป็นช่วงเวลาที่รับเอาการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้ในราชสำนักเป็นอย่าง
้
มากแล้ว ก็ยังปรากฏร่องรอยที่เจ้าน้อยระดับเจ้าฟาเจ้าแผ่นดิน ศึกษาเวชกรรมเภสัชกรรมแผนโบราณ และได้
นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาราษฎร เช่นกรณี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
“พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ผู้ทรงได้รับการศึกษาแบบตะวันตกเป็นอย่างดี ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อทรงว่างจาก
พระภารกิจด้านราชนาวี ได้ทรงศึกษาเวชกรรมเภสัชกรรมแผนโบราณ ผนวกกับไสยศาสตร์จาก
พระเกจิอาจารย์บางท่านที่ขึ้นชื่ออาทิหลวงพ่อศุข (พระครูวิมลคุณากร) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัด
ชัยนาทแล้วนำมาประสานกับการแพทย์แผนตะวันตก ใช้รักษาสามัญชนที่ได้ป่วยอย่างได้ผล พระองค์
ทรงพระราชนิพนธ์ตำราแพทย์ชื่อ “คัมภีร์อติสาระ” ซึ่งมีต้นเค้ามาจากคัมภีร์โบราณ เพื่อใช้ป้องกันและรักษา
อหิวาตกโรค เมื่อครั้ง “โรคห่า” กินเมืองจนผู้คนล้มตายจากไปเป็นอันมาก และยังได้ทรงออกไปเยี่ยมเยียน
รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาราษฎรไปเป็นอันมาก และยังได้ทรงออกไปเยี่ยมเยียนรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่
ประชาราษโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ จนเป็นที่รู้จักเรียกหากันอย่างกว้างขวางในหมูราษฎรแถบนางเลิ้ง “หมอพร”
โดยที่ราษฎรส่วนใหญ่เกือบจะทั้งหมดที่ได้รับการรักษาจากพระองค์ท่าน มิได้ตระหนักรู้เลยว่าพระองค์เป็นใคร
การศึกษาวิชาแพทย์ในสมัยก่อนนั้น สานุศิษย์ผู้ประสงค์จะได้วิชาแพทย์จะต้องใช้วิธีต่อด้วยปากจาก
ผู้เป็นอาจารย์โดยตรง แล้วนำมาท่องบ่นจนขึ้นใจ ทั้งยังต้องปรนนิบัติรับใช้ติดหน้าตามหลัง คอยช่วยปฏิบัติ
หัดงาน นวดเฟ้นให้อาจารย์จึงจะได้วิชา ดังนั้น การชำระเรียบเรียงคัมภีร์แพทย์แผนโบราณ ให้เป็นคัมภีร์
ต้นแบบโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นคุณูปการสำคัญยิ่ง
ไม่เพียงแต่สำหรับการแพทย์แผนไทยเท่านั้น หากยังมีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อวงวิชาการแพทย์ของ
ราชอาณาจักรสยาม
ในยุคต้นแห่งการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นแบบสมัยใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากงานเรียบเรียงสำคัญชุดนี้ดังปรากฏว่า ในปีพุทธศักราช 2432 ทรงพระกรุณา
ิ
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย ขึ้น ในโอกาสนี้ได้มีการจัดพมพ์ตำราแพทย์หลวงสำหรับโรงเรียนขึ้น
ใช้เป็นครั้งแรก โดยจัดพิมพ์เป็นตอน ๆ เริ่มเมื่อพุทธศักราช 2438 ตำราแพทย์เล่มแรกนี้คือ แพทยศาสตร์
สงเคราะห์ นั่นเอง
มีพระราชปรารภในการจัดพิมพ์ว่า
หน้า 5