Page 4 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 4
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์แผนโบราณที่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมคัมภีร์แพทย์แผนโบราณจากที่ต่าง ๆ มาตรวจสอบชำระใหม่
โดยทรงแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์หลวงขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราช
หฤทัย จางวางกรมแพทย์ กับพระยาอมรสารทประสิทธิ์ศิลป์ หลวงกุมารเพช หลวงกุมารแพทย์ ขุนกุมาร
ประเสริฐ ขุนกุมารประสิทธิ์ และ ขุนเทพกุมาร ให้ช่วยกันชำระคัมภีร์แพทย์ที่ได้มาทั้งหมดให้เป็นฉบับที่ถูกต้อง
คณะกรรมการได้นำคัมภีร์แพทย์ทั้งหลายที่ได้มา ไปตรวจสอบกับคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ต้นแบบครั้น
ั
์
การชำระเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการจึงมอบต้นฉบับที่ชำระใหม่ให้กรมพระอาลักษณตรวจอกษรและบันทึกไว้
เป็นหลักฐาน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย
ิ
ขึ้น ในโอกาสนี้จึงได้มีการพมพ์ตำรา "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" เพื่อใช้เป็นตำราแพทย์หลวงสำหรับโรงเรียนขึ้น
เป็นครั้งแรก โดยจัดพิมพ์เป็นเล่มเล็ก ๆ และพิมพ์เป็นตอน ๆ แต่พิมพ์ได้เพียง 3 เล่ม ก็ต้องเลิกพมพ เพราะไม่
ิ
์
มีทุนในการพิมพ ์
ครั้นต่อมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์จากโรงเรียนราชแพทยาลัย ได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนเวช
สโมสรขึ้น และได้จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์ขึ้นอีก โดยใช้ชื่อว่า "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" ตามฉบับการพิมพ ์
ครั้งแรก แต่จัดพิมพ์ในรูปวารสารออกเป็นรายเดือน เนื้อหาของคำราชุดนี้เน้นวิธีการรักษาตามตำราแพทย์แผน
ฝรั่งส่วนใดที่ยังหายาฝรั่งไม่ได้ก็จะใช้ยาไทย วารสารแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับนี้ออกมาได้เพียง 4 ฉบับ ก็
เลิกพิมพ์เพราะไม่มีทุน
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ปรากฏเป็นฉบับสมบูรณ์เมื่อพระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยของราชแพทยาลัย และผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสรได้เริ่มจัดพิมพ์ขึ้น ด้วย
เห็นถึงความจำเป็นว่าราษฎรที่ป่วยไข้ ต้องหาวิธีรักษาตนเอง โดยแสวงหาตำราแพทย์มาคัดลอกไว้เป็นคู่มือ
้
ตำราส่วนใหญ่นั้นก็กระจัดกระจายไป ส่วนตำราหลวงที่จะเป็นตำราอางอิงก็ใช้กันในหมู่แพทย์หลวงเท่านั้น
นอกจากนี้ท่านยังมีความประสงค์ที่จะอนุรักษ์ตำราแพทย์แผนไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง จึงได้กราบทูลขอประทาน
พระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณใน
ขณะนั้น จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่มจบ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.
2450
(ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.191 - 192)
หน้า 2