Page 5 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 5
กุสุมา รักษมณี กล่าวต่อว่า แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงซึ่งจัดพิมพ์เป็น 2 เล่มนั้นแบ่งเป็นเรือง
่
ต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า คัมภีร์ ดังนี้
1. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นบทสังเคราะห์เนื้อหาสาระจากคัมภีร์อื่น ๆ มารวมไว้
2. คัมภีร์ปฐมจินดาร์ ว่าด้วย ครรภรักษา การคลอด โรคเด็ก วิธีรักษาและยาต่าง ๆ
3. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ (ธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) และสมุนไพรที่ใช้รักษา
4. คัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต) ว่าด้วยสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ
5. คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ว่าด้วยความรู้ในการวินิจฉัยโรค และการรักษาสุขภาพ
6. คัมภีร์วรโยคสาร ว่าด้วยคุณลักษณะของแพทย์ ลักษณะของผู้ป่วยการรักษาโรค คุณค่าของยาและ
อาหาร
7. คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา
8. คัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคลมและโรคเลือด และสมุนไพรที่ใช้รักษา
9. คัมภีร์โรคนิทาน ว่าด้วยสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา
10. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ และสมุนไพรที่ใช้รักษา (มีเนื้อหาคล้ายคัมภีร์ธาตุวิภังค์
แต่แต่งเป็นกาพย์)
11. คัมภีร์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยเรื่องอุจจาระซึ่งเป็นสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา
12. คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา ว่าด้วยโรคของบุรุษและโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา
13. คัมภีร์ตักกะศิลา ว่าด้วยอาการของโรคระบาดชนิดต่าง ๆ
14. คัมภีร์ไกษย ว่าด้วยโรคกษัยชนิดต่าง ๆ (กษัย หมายถึงโรคที่ทำให้ร่างกายผอมแห้งผิดปกติ) และ
สมุนไพรที่ใช้รักษา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นความรู้เบื้องต้นที่ช่วยให้เข้าใจภาพรวมของเวชกรรมและเภสัชกรรมไทยโบราณ
ั
เพราะเป็นตำราที่รวบรวมความรู้หลากหลายจากคมภีร์อื่น ๆ ในชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เอาไว้พอประมาณ
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แต่งเป็นกาพย์ คำว่าฉันทศาสตร์ หมายความว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตาม
แบบตำราการแพทย์ของอินเดีย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549,น.334 - 337)
หน้า 3