Page 6 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 6

บทนำเสนอ

                       ชลธิรา สัตยาวัฒนา กล่าวว่า แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง มีที่มา
               จากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่ที่ทรงเห็นว่าบรรดาคัมภีร์อยู่แผนโบราณและตำรา

               พื้นบ้านของไทยมีคุณประโยชน์ยวดยิ่ง ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนคัดลอกต่อกันมาด้วยความเพียรพยายามใน

               หมู่แพทย์และผู้ที่สนใจแต่ต้นฉบับตำราและพระตำราหลวงที่ได้สร้างขึ้นและได้ใช้สืบทอดกันมายาวนานนั้น
               สูญหายไปบ้าง พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำนุบำรุงพระคัมภีร์แพทย์ให้ปรากฏไว้เป็นหลักฐานและ

               เผยแผ่ต่อไปในภายภาคหน้า ในพุทธศักราช 2413 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมคณะแพทย์หลวง
               จัดหารวบรวมคัมภีร์แพทย์ในที่ต่าง ๆ มาตรวจสอบชำระให้ตรงกันกับฉบับดั้งเดิม ในการนี้ได้ทรงแต่งตั้ง

               คณะกรรมการแพทย์หลวงขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย “พระเจ้าราชวงษ์เธอกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย”

               จางวางกรมแพทย์ ร่วมกับ “พระยาอมรสาตรประสิทธิ์ศิลป์ หลวงกุมารเพช หลวงกุมารแพทย์
               ขุนกุมารประเสริฐ ขุนกุมารประสิทธิ์” และ “ขุนเทพกุมาร” เป็นต้น ให้ช่วยกันตรวจสอบชำระคัมภีร์แพทย์

               ทั้งมวลให้มวลให้ถูกต้องมีหลักฐานจดบันทึกไว้ในหอหลวง เพื่อให้ใช้บำบัดโรคภัยไข้เจ็บแก่
               มหาชน คณะกรรมการชุดนี้ได้ตรวจสอบชำระ เห็นถูกถ้วนดีแล้วจึงส่งมอบให้กรมพระอาลักษณ์ในการ

               นี้  “พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่น อักษรสาสนโสภณ ”จางวางกรมพระอาลักษณ์ “หลวงสารประเสริฐ” และ

               “ขุนนิมิตร์อักษร” ชำระตรวจอักษรถูกต้องแล้วจัดขุนหมื่นกรมราชบัณฑิตอักษรเส้นทอง กรมพระอาลักษณ์
               ชุบอักษรไทยเส้นหรดาล นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเป็นส่วนพระราชกุศล เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศและเป็น

               สมบัติของแผ่นดินสืบไป


                       ความเป็นมาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นพระราชวิจารณญาณอันสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระ

               จุลจอมเกล้าอยู่หัว ผู้เป็น “สมเด็จพระปิยมหาราช” ของพสกนิกรชาวไทย พระองค์ทรงเห็นทรงคุณค่าของ
               ภูมิปัญญาดั้งเดิมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม มรดกล้ำค่าด้านเวชกรรมและเภสัชกรรมส่วนนี้มีที่มาจากหลาย

               กระแสสั่งสมสืบทอดผ่านมาหลายยุคหลายสมัยจนกระทั่งตกผลึกเป็นภูมิปัญญาไทย และเป็นมรดกทาง

               วัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานเอกสารแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงห่วงใยว่าวิชาการด้านนี้จะ
               สูญสิ้น หากชนรุ่นหลังไม่เข้าใจถึงคุณค่าและหันไปรับอิทธิพลการแพทย์แผนตะวันตกแต่ถ่ายเดียว กระแส

               พระราชดำริว่าด้วยเรื่อง “หมอไทยแลยาไทย” ปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
               พระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 109 ข้อความว่า



                                     …ขอเตือนว่า หมอฝรั่งนั้นดีจริง แต่ควรให้ยาไทยสูญหฤาหาไม่หมอไทยจะควรไม่ให้มี
                       ต่อไปภายน่าหฤาควรมีไว้บ้าง ถ้าว่าส่วนตัวฉันเองยังสมัคกินยาไทยแลยังวางใจหฤาอุ่นใจในหมอไทย

                       มาก ถ้าหมอไทยจะรักษาอย่างฝรั่งหมด ดูเยือกเยนเหมือนเหนอื่น ไม่เหนพระเหนสงฆ์เลยเหมือนกัน

                       แต่ตัวฉันก็อายุแล้ว เหนจะไม่ได้อยู่ไปจนหมอไทยหมดดอกคนภายน่าจะพอใจอย่างฝรั่งทั่วกันไป จะ
                       ไม่เดือดร้อนเช่นฉันดอกกระมังเปนแต่ลองเตือนดู ตามหัวเก่า ๆ ทีหนึ่งเท่านั้น….





                                                                                                     หน้า 4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11