Page 48 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 48

พีเอชของดินในบ่อบำบัดจาก 5.4 ให้ขึ้นมามากกว่า 7 ซึ่งจะช่วยเร่ง

               การย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรีย
                        3.  ระบบถังกรองทราย ในบ่อบำบัดจะมีกระบะหรือถังกรอง

               ขนาด 0.7 - 1 ตัน เจาะรู หรือเปิดเป็นช่องตรงบริเวณผนังและก้น
               เพื่อให้น้ำไหลเข้าไปในกระบะได้ ภายในกระบะมีถุงอวนบรรจุทราย

               และเปลือกหอย หรือซากปะการังใส่ไว้จนเต็มตรงกลางกระบะทราย
               ให้ฝังหัวบัวของเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่ง น้ำที่บำบัดแล้วจะถูกสูบ

               ผ่านกระบะกรองเข้าสู่บ่อเลี้ยง เมื่อต้องการเติมน้ำบ่อบำบัดควรมี
               ประสิทธิภาพในการลดปริมาณตะกอนและบำบัดนํ้าให้มีคุณภาพดีขึ้น

               ไม่น้อยกว่า 20 - 50%


                         การเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยง
                        1.  คุณภาพน้ำที่เติมเมื่อเริ่มต้นเลี้ยง น้ำที่เติมเข้ามาใน

               บ่อเลี้ยงกุ้งมาจากบ่อเก็บน้ำโดยพยายามให้คุณภาพน้ำอยู่ในช่วง
               พีเอช 7.5 - 8.5 ความเค็ม 10 - 35 ส่วนในพัน อัลคาไลนิตี้ > 80

               ส่วนในล้าน และน้ำควรปราศจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก และยา        คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
               ปราบศัตรูหรือมีในปริมาณน้อยที่สุด

                        2.  การเติมน้ำในบ่อเลี้ยง เติมน้ำในบ่อเลี้ยงให้ได้ระดับ
               140 ซม. เติมกากชาลงไปในอัตรา 22 กก./ไร่ เพื่อฆ่าตัวอ่อนของปลา

               และสัตว์น้ำอื่นๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับในพื้นที่ที่มีการ
               ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเช่น โรคตัวแดงดวงขาว โรคหัวเหลือง

               ควรฆ่าเชื้อในน้ำและกำจัดพาหะของโรค เช่น กุ้ง และปูชนิดต่าง ๆ
                        3.  การเตรียมสีน้ำ หลังจากใส่กากชา 1 สัปดาห์ ถ้าสีน้ำ

               สามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 10 ซม./ 3 วัน หรือถ้าสีน้ำมีความโปร่งใส

               ต่ำกว่า 80 ซม. อยู่แล้ว แสดงว่าสีน้ำสามารถขึ้นได้เองจากปุ๋ยที่ยัง
                                                                               41
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53