Page 47 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 47

ปริมาณอาหาร และอาจจะเลื่อนเวลาการให้อาหารออกไปอีก เช่น

            เลื่อนเวลาออกไปเป็น 7.00 น. หรือมากกว่านั้น นอกจากอุณหภูมิ
            ของน้ำที่มีผลต่อการกินอาหารของกุ้งแล้ว ถ้าปริมาณออกซิเจนต่ำ

            กุ้งจะกินอาหารลดลงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่สีน้ำในบ่อเข้มจัด ปริมาณ
            ออกซิเจนจะลดต่ำลงมากในตอนเช้า อาจจะต้องเลื่อนเวลาการให้

            อาหารออกไปจนกว่าจะเริ่มมีแสงแดดมากพอ เพื่อให้แพลงก์ตอนพืช
            สังเคราะห์แสงเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ จะทำให้กุ้งกินอาหารดีกว่า


         คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
                       2.2 การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

                       การเตรียมบ่อเลี้ยง
                      1.  ตากบ่อ หลังการจับแล้วต้องทำให้บ่อเลี้ยงแห้งให้เร็ว

            ที่สุด  เพื่อให้ดินนั้นสัมผัสกับออกซิเจนเร่งการย่อยสลายของเสีย
            ภายในบ่อเลี้ยงโดยไม่มีการลอกเลน และฉีดเลน

                      2.  วัสดุปูนใส่ปูนขาวลงไปในบ่อประมาณ 100 กก./ไร่
            เพื่อปรับพีเอชดินจากประมาณ 5.6 ให้ขึ้นมามากกว่า 7 ซึ่งเป็นช่วงพีเอช

            เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งและการย่อยสลายสารอินทรีย์ในเลนก้อนบ่อ
                      3.  ระบบเพิ่มออกซิเจนก้นบ่อ  เพื่อเพิ่มออกซิเจน

            โดยตรงกับพื้นก้นบ่อซึ่งมักจะขาดออกซิเจนในระหว่างเลี้ยง โดยใช้ท่อ
            PVC เจาะรูและวางเป็นแนวกระจายครอบคลุมพื้นก้นบ่อและอัดหรือ

            พ่นอากาศโดยใช้เครื่องพ่นอากาศขนาด 2 แรงม้า อัดอากาศจาก
            บรรยากาศ เข้ามาในท่อแล้วไหลออกจากท่อตรงบริเวณก้นบ่อ


                      การเตรียมบ่อบำบัด

                      1.  ตากบ่อ ทำให้บ่อแห้งและตากบ่อประมาณ 2 - 3 อาทิตย์

                      2.  ปูนขาว ใส่ปูนขาวไปประมาณ 200 กก./ไร่ เพื่อปรับ
     40
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52