Page 50 - สุขอนามัยฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
P. 50
- แพลงก์ตอน ปล่อยในน้ำในบ่อเลี้ยงมีแพลงก์ตอนได้
ตามธรรมชาติ ซึ่งแพลงก์ตอนเหล่านี้ จะช่วยในการดูดซับสารอาหาร
ที่ละลายอยู่ในน้ำ
การปล่อยกุ้ง
1. คุณภาพน้ำพร้อมที่จะปล่อยกุ้ง เมื่อเตรียมสีน้ำแล้ว
ต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำให้อยู่ในช่วยเหมาะสม พร้อมที่จะปล่อยกุ้ง
โดยมีค่าพีเอช 7.8 - 8.5 อัลคาไลนิตี้ > 80 ส่วนในล้าน ความเค็ม 10
- 35 ส่วนในพัน ออกซิเจนในช่วงเวลาเช้าตรู่ > 4 ส่วนในล้าน
แอมโมเนีย, ไนไตรท์ < 0.5 ส่วนในล้าน ไนไตรท์ < 0.1 ส่วนในล้าน
สีน้ำ 50 - 80 ซม. และเปิดเครื่องกังหันตีน้ำประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อน
นำลูกกุ้งมาปล่อยเพื่อให้น้ำในบ่อเลี้ยงผสมกันเป็นเนื้อเดียวกัน
2. ความหนาแน่นของกุ้ง
ปล่อยกุ้งขนาด 15-18 ในความหนาแน่น 62 ตัว/ตรม.
คือประมาณ 100,000 ตัว/ไร่
3. การทดสอบความแข็งแรงของลูกกุ้ง คู่มือวิชาการ เรื่อง แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การเลี้ยงสัตว์น้ำ
3.1 แนวทางการคัดเลือกลูกกุ้ง การพิจารณา
คัดเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพควรมีลักษณะลำตัวยาว กล้ามเนื้อใส มี
อาหารในลำไส้ เห็นเป็นสีน้ำตาลทอดยาวลำตัว มีลำตัวปกติไม่มี
ลักษณะดังนี้ คือ ส่วนหัวบิดเบี้ยว ลำตัวคดงอ อวัยวะภายนอก
ครบถ้วนระยางค์และแพนหางไม่ขาดไม่มีจุดดำหรือแถบสีดำ บริเวณ
หลัง ขณะว่ายน้ำ แพนหางจะคลี่บานออก หนวดควรยาวตรงเรียว
และแนบชิดติดกัน สีลำตัวควรเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา ไม่ควรมีสีแดง
บริเวณส่วนหนวดและขาของลูกกุ้งที่ดีจะต้องไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่
ลำตัวไม่ฝ้าขุ่นและไม่โก่งตัวงอขณะพัก มีขนาดสม่ำเสมอหรือไล่เลี่ยกัน
43