Page 8 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 8

จ




                               4. ส่งเสริมความร่วมมือระบบภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้านอาชีพ
                     ภาษา และนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและ

                     มาตรฐานสากล
                               5. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรที่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงทั้งระดับ

                     การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา

                                6. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ
                     มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

                             ตัวชี้วัด

                                1. ร้อยละของหน่วยงานทางการศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการส่งเสริมและ
                     พัฒนาทักษะอาชีพให้กับประชากรวัยเรียน

                                2. จำนวนปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการส่งเสริมและการพัฒนาทักษะ

                     การถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา วิถีชีวิตตามอัตลักษณ์พื้นถิ่น  เพื่อทำหน้าที่เป็นครูชุมชน
                                3. ร้อยละของประชากรวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับโลก

                     การทำงาน และทักษะพื้นฐานการเป็นผู้ประกอบการ
                                                                                             ั
                                                                                           ื่
                                4. ร้อยละของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนรู้เพอพฒนาผู้เรียน
                     ด้านทักษะอาชีพ ภาษา และนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือ

                     แรงงานและมาตรฐานสากล
                                5. หน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัดมีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการ

                     กระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการฝึกปฏิบัติที่เป็นแบบอย่าง
                                6. สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เรียนสามัญศึกษาเพิ่มขึ้น

                               7. ร้อยละของประชากรวัยแรงงานในพื้นที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะ

                     อาชีพ ภาษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
                                8. ร้อยละของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.3) ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

                     มาตรฐานวิชาชีพ (ภาครัฐ/เอกชน)

                                9. จำนวนหลักสูตรต่อเนื่องและเชื่อมโยงทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และ
                     อุดมศึกษาแบบบูรณาการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพที่

                     เพิ่มขึ้น
                                10. จำนวนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการ

                     ประกอบอาชีพ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ









                     ---------------------------------------------------------------------------------
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13