Page 169 - เมืองลับแล(ง)
P. 169
เรื่องที่ ๑๔ อาณาเขตเมืองลับแล
ยุคพระเจ้าฟ้าฮ่ำราชกุมาร เป็นเจ้าเมือง อาณาเขตของเมืองลับแลจะกว้างแค่ไหนสืบถามกับคน
โบราณไม่มีใครตอบได้เพียงแต่รู้ว่าในยุคนั้นนครกัมโพช (เมืองทุ่งยั้ง) หมดสภาพเป็นเมืองไปแล้ว และท่าโพธิ์
ท่าอิด ท่าเซาว์ ก็ยังไม่เจริญ ผู้เขียนสันนิษฐานว่าพระเจ้าครองเมืองที่มีบุญวาสนาบารมีบรมเดชานุภาพมาก
จะต้องมีอาณาเขตกว้าง
๑. ทิศตะวันออก ถึงท่าโพธิ์ ท่าอิด ท่าเซาว์
๒. ทิศตะวันตก จดเขตนครเชลียง (ศรีสัชนาลัย)
๓. ทิศเหนือ จดเขตนครแพ (เมืองแพร่)
๔. ทิศใต ้ จดเขตเมืองพี่ใช้ (พิชัย)
หรืออาจจะกว้างกว่าที่สันนิษฐานก็ได ้
อีกนัยหนึ่งต้นตระกูลของชาวเมืองลับแลมีสองตระกูลคือ สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เวียงโยนกชัยบุรี
ศรีเชียงแสน ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่บ้านคอกช้างขึ้นไปถึงต้นเกลือ อีกตระกูลหนึ่งสืบเชื้อสายมาจาก
เวียงจันทน์ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่บ้านกระดาย (ยังกะใด) ลงไปถึงบ้านนาแต้ว และบ้านนาทะเล ตามคำ
ี่
บอกเล่าว่า เจ้าเมืองลับแลจัดให้ชาวเมืองลับแลตระกูลเวียงจันทน์อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ชายแดนคือทบ้านปาก
่
ื
ั้
ฝาง สิ่งที่พิสูจน์ก็คอขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปกรรมตาง ๆ เอาแบบฉบับมาจากเมืองลับแลทงสน การทอ
ิ้
ี
ผ้าซิ่นตนจก ซิ่นมุก ซิ่นไก ถุงกุลา ผ้าห่มหัวเก็บ และการแต่งกายของสุภาพสตรีเหมือนกับชาวเมืองลับแลทุก
อย่าง ฝ่ายการศาสนาก็มีวัดปากฝาง วัดเหล่าป่าสา ถือธรรมเนียมเดียวกันกับเมืองลับแล มีการเรียนหนังสือ
ั้
อักษรพื้นเมืองภาคพายัพ บูชาแก้วทงสาม เวรครัวทานเทศน์มหาชาติทำนองเมืองลับแลสบต่อมาจนถึงปัจจบัน
ื
ุ
นี้ พอจะเชื่อถือได้ว่าอาณาเขตเมืองลับแลในยุคพระเจ้าฟ้าฮ่ำราชกุมารแผ่แสนยานุภาพก็คงจะปกครองไปถึง
ปากฝาง และอาณาเขตทิศตะวันออกอาจจะจดเขตนครเวียงจันทน์ก็ได ้
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๙