Page 168 - เมืองลับแล(ง)
P. 168
เรื่องที่ ๑๓ การประดิษฐ์ฝีเมือของบรรพสตรี
ตอนต้นได้กล่าวไว้แล้วว่า พระนางเจ้าสุมาลี และพระนางเจ้าสุมาลา เป็นต้นอาจารย์ถ่ายทอดวิชา
ื่
ความรู้ที่ได้คิดประดิษฐ์ฝีมือการทอผ้าพื้นเมืองเรียกว่า ผ้าซิ่น เป็นเครื่องนุ่งของสตรีมีลวดลายต่าง ๆ กัน ชอว่า
ซิ่นตีนจก ซิ่นมุก ซิ่นฝ้าย ซิ่นไกไหม ซิ่นแหล้ ซิ่นตาเล่ม ซิ่นลับแลง ซิ่นดำปึก ผ้านุ่งที่ทำยาก ราคาแพงมีความ
นิยมออกหน้าออกตาก็คือ ผ้าซิ่นตีนจก ซิ่นมุก และผ้าห่มหัวเก็บ หน้าหมอนหก หน้าหมอนแปด ถุงกุลา เป็น
งานของสุภาพสตรี ส่วนมากพวกสาว ๆ นิยมทำงานเวลากลางคืน จุดไต้น้ำมันยางทำงาน พวกหนุ่ม ๆ ก็จะไป
เที่ยวพบสาว เรียกว่า แอ่วสาวอยู่ค่ำ นั่งคุยกันไปฝ่ายหนุ่มก็เอาไม้เขี่ยไต้ช่วยให้แสงสว่างภาษพื้นเมืองว่า บ่าวอู้
สาว หมายความว่า พูดเกี้ยวกัน
พระนางเจ้าทั้งสองยังฝากฝีมือไว้อีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องใช้ปั้นด้วยดินเหนียว เอาดินหม้อกลางท่งนา
ุ
ทายไปปั้นหม้อโอ่ง หม้อนึ้ง หม้อแกง หม้ออ่าง เป็นต้น กระประดิษฐ์ การปั้นแปลกกว่าทอื่น ปัจจุบันก็ยังมีปั้น
ี่
กันอยู่ บ้านวัดป่า บ้านนาโป่ง บ้านทุ่งเอี้ยง แต่ก็ไม่พอนิยมใช้กัน คงมองข้ามไปว่าเป็นของใช้ที่ล้าสมัย ส่วน
ฝีมือการปรุงอาหารที่เป็นขนานดั้งเดิม ลาบหลู้ แกงอ่อม แกงแค ข้าวแคบน้ำแก้วทอด เป็นอาหารออกหน้า
ออกตาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
พระนางเจ้าสุมาลี พระนางเจ้าสุมาลา ไม่ปรากฏว่ามีพระราชโอรสอายุเขาปัจฉิมวัยก็พร้อมใจกันปลง
้
พระราชทรัพย์ ส่วนพระนางทั้งสองออกสร้างวัดตรงเหนือพระราชวังมีชื่อว่า “วัดนางปล๋ง” ประชาชนเรียก
เพี้ยนไปว่า วัดนาโป่ง ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่เหนือบ้านนาโป่ง พระนางเจ้าทั้งสองซึ่งเป็นบรรพสตรีของชาวเมือง
ลับแล เมื่อถึงอายุไขยวัยชรา พระนางก็ทิวงคต พระแม่เจ้าทั้งสองเป็นต้นอาจารย์การทอหูก ทอผา ของแม่ศรี
้
เรือนชาวเมืองลับแล จึงเคารพเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมเป็นที่สูงสุด เมื่อทอหูก ทอผ้า เสร็จแลวมี
้
พิธีขึ้นครู เอาผ้าที่ทอเสร็จใหม่ ๆ นั้นทั้งหมดขึ้นพาดขนเขาพืม เรียบร้อยแล้วก็เชิญครู มานุ่งห่มผ้าว่า
ขอเจิญเจ้าแม่สุมาล ี
ขอเจิญเจ้าแม่สุมาลา
ลงนุ่งห่มผ้า
ตอหุกคราวหน้า
ขอฮื้อปันไดปันเปือง ฯ
ถ้าสตรีผู้ใดไม่ทำพิธีขึ้นครูก็ถือว่าไม่เคารพต่อครูบาอาจารย์ ทอหูกทอผ้าอีกคราวหน้าก็จะทำให้หด
หายไป ช้ามากทำให้เสียเวลานาน จึงนิยมขึ้นครูกันทุกครั้ง แต่ไม่มีการอ้อนวอนให้เจ้าแม่ช่วยอย่างอื่น เพียงแต ่
ยกเจ้าแม่ทั้งสองขึ้นเป็นครูบาอาจารย์ การทอหูก ทอผ้า เย็บปัก ถักร้อยเท่านั้น
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๘