Page 170 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 170

เรื่องที่ ๑๕  งานปอยหรืองานประเพณี



                       เมืองลับแล เป็นอาณาเขตท่าเหนือส่วนใต้ของประเทศโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน เจ้าเมืองรับเอา
               ขนบธรรมเนียมประเพณีมาจาก (ภาคพายัพ) เพื่อให้ราษฎรได้มีความสำราญร่าเริง และพบปะสังสรรค์ปีละครั้ง

               มีกำหนดเดือน ๔ เพ็ญ เจ้าเมืองเป็นประธาน ประกาศหรือนัดให้ราษฎรเตรียมแป้งไปทำขนมเส้น (ขนมจีน)

                                                                                                 ั
                                                                             ่
                                                                                                        ่
               ที่ค้างบอกไฟคือที่ บ้านนาปอย ปัจจุบันนี้มีการแห่บอกไฟไปจากวัดอารามตาง ๆ เพื่อประกวดประชนกัน ชาง
               ฆ้อง ช่างกลอง ช่างปี่ ช่างซึ่ง ช่างซอ ช่างจ้อย ก็อุ่มงันกันอย่างสนุกสนาน ล้มหมู ล้มควาย แกงอ่อม ลาบล ขึ้น
                                                                                                      ู้
               ปู่พญาแก้ววงษ์เมือง ก่อนจะจุดบอกไฟก็มีการเซิ้งบอกไฟ แห่หมยมนากันเป็นคณะ ๆ เสร็จแล้วก็เอาขึ้นต้นยาง
               ยิ่งสูงก็ยิ่งดี ค้างบอกไฟสูงประมาณซาวห้าวาคือ เอาต้นยางเป็นค้างบอกไฟ ทำบุญตักบาตรในงานปอย ใช้เวลา
               ๒ – ๓ วัน ต่อมาประชาชนมากขึ้นบ้านเรือนก็ลุกลามไปใกล้กับสถานที่จัดงานปอย เจ้าเมืองก็สั่งให้ย้ายสถานท ี่

               จัดงานปอยไปตั้งที่ทุ่งนาน้ำท่วม เหนือฝายหัวดอยเพื่อความปลอดภัย ในการจุดบอกไฟ เอาแก่นเนื้อแข็งทำเสา

               ค้างบอกไฟให้เป็นมาตรฐานสูงซาวห้าวาเศษ เมื่อถึงเดือน ๔ เพ็ญ ก็จัดงานปอยกันตามประเพณี สถานที่เดิม
               นั้นจึงเป็นสัญลักษณ์มาจนถึงทุกวันนี้คือ บ้านนาปอย




               เรื่องที่ ๑๖  เจ้าเมืองหมดวาสนาบารมี



                       พระเจ้าฟ้าฮ่ำราชกุมาร เจ้าเมืองลับแล ได้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งฝ่ายราชอาณาจักร และพุทธจักรให้

               เจริญรุ่งเรืองในยุคนั้นมาก สุดที่จะนำมาบรรยาย พระองค์ได้ปกครองประชาราษฎร์ให้มีความร่มเย็นเป็นสุข
                                                                                  ั
               ถ้วนหน้า จนเข้าถึงอายุไขยวัยชราก็เสด็จทิวงคต ชาวเมืองลับแลยกย่องเทอดทูนสกการะบูชาดวงวิญญาณของ
               เจ้าฟ่อฟ้าฮ้ามไว้เหนือเกล้า เหนือกระหม่อม สร้างศาลขึ้นตรงที่ม่อนอาฮักษ์หลักเมือง เชิญดวงวิญาณเจ้าพ่อฟ้า

               ฮ้าม ขึ้นสิงสถิตย์อยู่เพื่อให้คุ้มครองปกป้องราษฎร เมื่อผู้ใดมีทุกข์มีร้อนก็เอาหมากคำพลใบไปถวาย แล้วก็อ้อน
                                                                                       ู
               วอนให้เจ้าพ่อช่วยกำจัดปัดเป่าเคราะห์โศก โรคภัย มีคนทรงรักษาป่วยไข้บางรายก็หายอย่างปลิดทิ้ง ถึงฤด ู

                                                                                            ้
               ก่อนจะทำนา ภายในเดือน ๗ ข้างขึ้น มีประเพณีแห่น้ำขึ้นโรง คือ เอาน้ำอบน้ำหอมขึ้นถวายเจาพ่อ ล้มหมู ลม
                                                                                                        ้
               ควาย แกงอ่อม ลาบลู้ ถวายเจ้าพ่อ มีซอ มีจ้อย สมโภชอย่างสนุกสนาน เพื่อขอให้เจ้าพ่อฟ้าฮ้าม พระราชทาน
               น้ำฝนลงมาให้ ทำไร่ทำนากันอย่างอุดมสมบูรณ  ์

                       อนึ่งไม่ปรากฏว่า พระเจ้าฟ้าฮ่ำราชกุมารจะมีราชโอรสสืบสันติวงษ์เป็นรัชทายาท คงจะมีขุนนางผู้ใหญ่

               รับเป็นรัชทายาทปกครองเมืองลับแล สืบต่อ ๆ มาหลายยุคหลายสมัย จนถึงบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงออกจาก
                                                                                              ้
                                                                                                    ั
               อาณาจักรโยนกมาเป็นอาณาจกรลานนา ตามตำนานภาคพายัพกลาวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจามหาชยชนะ
                                        ั
                                                                      ่
               ธิราช พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งนครนาคพันธ์สิงหนวัติโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน คราวนั้นเกิดอุบัติเหต ุ
               เภทภัยก็เพราะชาวประมงนำเอาปลาไหลเผือกตัวหนึ่ง ใหญ่เท่าลำตาล ยาวประมาณ ๗ วา เข้ามาถวายองค   ์


                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๒๐
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175