Page 166 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 166
พยายามติดตามไปในซอกห้วยช่องเขาก็พบขี้ช้างเลี่ยลาดอยู่ในห้วยนั้น ก็เชื่อแน่ว่าช้างหลบหนีมาทางนี้จริง
ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า ห้วยขี้ช้าง มาถึงปัจจุบันนี้ และก็เป็นที่น่าแปลกประหลาดมาก เพราะก้อนหินในห้วยนั้น
ก็เป็นก้อนเหมือนกับขี้ช้างทั้งนั้น ถ้าผู้ใดสนใจอยากรู้อยากเห็นก็ขอเชิญไปพิสูจน์ดูได้ ควาญช้างก็พยายาม
ติดตามช้าง ต่อไปก็ได้พบพระภิกษุรูปหนึ่งเดินสวนทางกัน ควาญช้างหลวงก็ถามพระภิกษุหนุ่มรูปนั้นเป็น
ิ
ปริศนาว่า มัดตั๋วหันมัดตี๋นข้าเก่า พระภิกษุท่านก็ตอบว่า หันอยู่ที่ต้นไม้ซ่อนดอก ฮื้อไปเอาเร็ว ๆ ถ้าคดบ่ออก
ต้นไม้ซ่อนดอกจะสาปฮื้อเป็นหิน พวกควาญช้างก็รีบเดินทางไป ก็คิดปัญหาไปก็ไม่มีผู้ใดจะเข้าใจเสียเลย
ติดตามช้างทั้งกลางวันและกลางคืน จนถึงวันรุ่งขึ้นก็ไปพบช้าง กลับกลายเป็นก้อนหินมูบอยู่ที่ข้างต้นมะเดื่อ
ชุมพร พวกควาญช้างหลวงก็ร้องไห้โฮ แล้วก็ตรวจดูช้างตั้งแต่หัวถึงหางก็จำได้ ว่าเป็นช้างพระที่นั่งของเจ้าเมือง
จริง ๆ ควาญช้างก็นำเรื่องแปลกประหลาดไปกราบทูลต่อ พระเจ้าฟ้าฮ่ำราชกุมาร เจ้าเมืองก็เสด็จไป
ทอดพระเนตรแล้วก็พระราชทานอภัยโทษ
ยุคต่อมาประชากรก็มากขึ้น แถวหัวดงก็เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ประปลายตามซอกห้วยเนินเขาก็เริ่มเป็นไร่
้
เป็นสวนขึ้น มีเรื่องเล่าว่าพวกเลี้ยงควายตอนควายไปเลี้ยงที่ห้วยผามูบ ไอ้หนุ่มเลี้ยงควายคนหนึ่งฝันว่าชางมู
้
ื
บเชือกนั้นบอกว่า ถ้าเอาเลอดคนไปให้กิน ก็จะให้ทองคำ ๆ มีอยู่พื้นท้องช้างนี้มาก ไอ้หนุ่มคนนั้นก็มีจิตละโมบ
โลภมากตามวิสัยของปุถุชน
จึงออกอุบายเอาผิวไม้เฮี้ย มาให้พวกเด็กเลี้ยงควายด้วยกัน เหลาเพื่อเป็นกลอุบายจะให้ไม้เฮี้ยบาดมือ
เด็กบอกว่าจะสานตะกร้าใส่หน่อไม้ให้หาบกลับไปบ้าน พวกเด็ก ๆ ก็เหลาไม้เฮี้ย มีคนหนึ่งเคราะห์ร้ายชะตา
ขาด ผิวไม้เฮี้ยก็บาดมือเลือดไหลออก ไอ้หนุ่มคนนั้นก็นึกว่าคราวนี้คงมีโชคดีแน่แล้ว มันก็เอาเลือดเด็กไปทา
ปากช้างมูบ แล้วก็เชิญให้กินเลือดและก็พูดอ้อนวอนขอก้อนทองคำ ช้างมูบก็ลุกยืนขึ้น ส่วนเด็กที่เลือดไหลออก
นั้นก็ล้มตายคาที่เลย
้
้
้
ุ
ฝ่ายไอ้หนุ่มได้เห็นทองคำที่พื้นทองช้างมูบก็ดีใจรีบเก็บเอาทองคำที่พื้นทองชางมูบบรรจใสถุงห่อข้าว
่
และตะกร้า พอเต็มหาบแล้วก็รีบกลับบ้านเดินทางถึงบ้านก็พอจะก้าวขึ้นบันได ไอ้หนุ่มคนนั้นก็ล้มขาดใจตาย
ได้ในบทพุทธภาษิต ว่า ทุกฺขโต ทุกฺขฐานํ แปลว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกนั้นถึงตัว
เรื่องที่ ๑๑ ผีเจ้าเข้าทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ชาวเมืองลับแลเคารพนับถือบูชาดวงวิญญาณของพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นนิสย
ั
ติดสืบมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ถ้าพ่อแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วจะต้องเชิญดวงวิญญาณขึ้นไปอยู่บนบ้าน ทำหิ้งให้อยู่ปก
ปักรักษาคุ้มครองลูกหลาน (แต่ไม่นิยมเก็บอัฐิ) เมื่อถึงวันสงกรานต์ก็จัดเอาน้ำอบน้ำหอมขึ้นมาคาราวะตรงทหิ้ง
ี่
็
ุ
็
บนบ้านนั้น บางทีลูกหลานเจบป่วยก็ห้วงผ้า ถามทายไปถูกผีพ่อ ผีแม่ ผีปู่ ผีย่า ผีพ่อขา ผแม่ขา จะเอาตงเลก
ี
ตุงใหญ่ หรือจะเอาทองเท่าลูกฟักและจะกินข้าวสาปอก (สังฆทาน) ลูกหลานก็จัดทำบุญอุทิศส่งไปให้
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๖