Page 242 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 242
31
พระญายุธิษฐิระ (ยุทธิสเถียร) ได้ครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได ้
้
อธิบายในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่า “เมืองเชลียงเป็นเมืองใหญ่เห็นได้ดวยชื่อเจ้าเมืองท ี่
พระยายุทธิศฐิรเป็นเจ้าเมืองครอง และเหตุที่สงครามอยุธยาเชียงใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๑๙๘๙ ด้วยพระ
32
ยายุทธิศฐิร เจ้าเมืองเชลียงเอาใจออกห่างไปเข้ากับเชียงใหม่เป็นไสศึก” การศึกษาของสมเด็จฯ กรมพระยา
้
ดำรงราชานุภาพ ทำให้เป็นที่เข้าใจต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยหลังว่าพระญายุธิษฐิระ คือ เจ้าเมือง
เชลียง ซึ่งเมืองเชลียงก็คือเมืองศรีสัชนาลัย โดยพระองค์ได้เค้าโครงการศึกษามาจากพระราชพงศาวดารกรุงศรี
อยุธยาที่ว่า “ศักราช ๘๐๘ ปีขาลอัฐศก (พ.ศ. ๑๙๘๙) ครั้งนั้นพญาชเลียงคิดขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไป
ิ์
มหาราช” ฉะนั้นเมื่อตรวจสอบตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ปรากฏว่าพระญายุธิษฐิระได้เขาสวามิภักดกับพระ
้
ี
ญาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๑๙๙๔ ก่อนหน้าที่พระญาเชลยงจะเข้ากับเชียงใหม่ถึง ๔ ปี ดังนั้นพระญา
ยุธิษฐิระจึงเป็นคนละคนกับพระญาเชลียงอย่างแน่นอน
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บอกว่า “เถิงปลีร้วงเม็ด ได้ปลี ๑ พระญายุทธิสเถียร กินเมืองสองแฅวมา
33
น้อมตัวเป็นข้าเจ้าเหนือหัว...” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๙๔ จุลศักราช ๘๑๓ ปีมะแม เป็นที่มาแห่ง
เหตุการณ์สงครามระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ แห่งกรุงศรีอโยธยาและพระญาติโลกราชแห่งนครพิงค
เชียงใหม่ ทำให้พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐ บอกว่า “ศักราช ๘๑๓ (พ.ศ. ๑๙๙๔) ครั้งนั้น
34
มหาราช มาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงเอาเมืองสุกโขไทย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับคืน” ต่อมา
้
พระญายุธิษฐิระ ได้รับตำแหน่งเจ้าสี่หมื่น เมืองพะเยา ปรากฏพระนามในจารึกหลักที่ ๓๐๓ ฐานพระเจานาก
ว่า “พระญายุธิษฐิระรามราชิสสรบรมสูรวงศ์” ครองเมืองพะเยา พ.ศ. ๒๐๐๐ - ๒๐๒๐
เนื้อความที่ ๑๒
่
้
“ฝ่ายพระญาติโลกะมหาราชาเจ้าฟ้าฮ่ามตนเจ้าช้างเวียงพิงคณที ตนองค์ฅำวิเสดใสก็มีใจใครกำชู
้
พระศาสนา แลชาวพาราลุ่มใต้ด้วยทสธัมม์ ในตนมหาราชาเป็นเจ้าด้วยพระญาไธยใตมัวเมาในอกศลธัมม ์
ุ
ตัวหมอง จึ่งได้ยกพลเศิกจากล้านนาพิงคณเขต ลงมาย่างย่ำตีเศิกรบเอาเวียงไธย”
์
เป็นการกล่าวถึงเหตุการณที่พระญาติโลกราช กษัตริย์เชียงใหม่ได้ยกทัพลงมาทางใต้ ใน พ.ศ. ๑๙๙๔
ี
ั
ั้
ปีมะแม ซึ่งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ไดบอกว่า “เจ้าเหนือหัวจิ่งเอาริพลไพคำเอายุทธิสเถยรสองแฅว ไพตงทบ
้
้
31 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๖๕.
32 พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
, ๒๕๕๙, หน้า ๖๔ – ๖๕.
33 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๖๕.
34 ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑, กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร,
๒๕๔๒, หน้า ๒๑๕.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๙๒