Page 243 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 243
35
(ทัพ)อยู่ ท่งย้าง เมืองฝาง” คือเป็นการบอกว่ากองทัพเชียงใหม่ได้ยกมาทางเชียงใหม่ – ลำปาง – แพร่
แล้วลงมาทางเมืองฝาง (ตำบลผาจุก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์) และเมืองทุ่งยั้ง (อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์)
คำว่า “เวียงไธย” อาจไม่ได้หมายถึงดินแดนประเทศไทย แต่คงเป็นคำที่แผลงมาจาก “ใต้” ท ี่
หมายถึงเมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของล้านนา
36
ี
้
จากนั้นทัพล้านนาไดยกไปทางลำน้ำน่าน เรียกในตำนานพื้นเมืองเชยงใหม่ว่า “แม่กั้ง (กลั้ง)” ไป
ยังเมืองสองแคว (พิษณุโลก) แล้วยกไปตีเมืองปากยม (พิจิตร)
เนื้อความที่ ๑๓
ี
ุ
ื
ฝ่ายพระญาแก้วก้มหล้าตนลูกผู้เกิดแต่นางเวียงหน่อฅำเทวี ธิดาเจ้าเมองแสนหว แลพระญายี่กุมกวาม
แก้ววงเมืองขึ้นนั่งเวียงสระหนองหลวงกจำนบคบไหวยังพระญาใต้เมืองสะหรโยธิยาตนนั้น แลจำสั่งแตง
ี
้
็
่
พลเศิกจายหาญออกสู้เศิกพระญาเวียงพิงคณที ในยามนั้นพระญาติโลกะมหาราชาฟ้าฮ่ามตนเจ้าช้าง
เวียงพิงคณทียกพลเศิกมานักหนาหนำ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูร ลำปาง แพร่ แลเจ้าลาวพระบาง
นับแต่ควันบุกขี้ฝุ่นกุ้มลอยบังบดแสงตาวันยามตอนได้ล่วง ๘๑๓ ตัว ศาสนาล่วงไปแล้วพุทธศักราชได ้
๑๙๙๔ ปี ในปีรวงเม็ด เดือน ๖ เหนือเป็ง ๑๐ ฅ่ำ ยามตะวันลับลงแลง ฟ้าฮ่ามแดงดั่งสีผ้าบันธุกัมพะอิน
ตา
เป็นการอธิบายถึง “พระญายี่กุมกวามแก้ววงเมือง” (ท้าวยี่กุมกาม - อดีตเจ้าเมืองเชียงราย) ผู้ครอง
เวียงสระหนองหลวง (เมืองซาก) มีชายาชื่อ “นางเวียงหน่อฅำเทวี” เป็นธิดาเจ้าเมืองแสนหวี เป็นเชื้อสายไทย
ใหญ่ (รัฐฉาน ประเทศพม่า) ได้มีพระโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า “พระญาแก้วกุ้มหล้า” เมื่อได้ขึ้นครองเมืองสบตอได ้
่
ื
สวามิภักดิ์เป็นเมืองประเทศราชของ “พระญาใต้เมืองสะหรีโยธิยา” ซึ่งน่าจะเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ
ได้รับคำสั่งแต่งพลศึกออกสู้รบกับ “พระญาเวียงพิงคณที” ซึ่งก็คือทัพของพระญาติโลกราช ใน พ.ศ. ๑๙๙๔ ปี
มะแม
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้บอกว่า “ปลีร้วงเม็ด เดือน ๕ ออก ๑๓ ค่ำ วันอังคาร” คือวันอังคาร
้
ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ (เหนือ) จะตรงกับเดือน ๓ ของไทยใต “เจ้าเหนือหัวจิ่งเอาริพลไพค้ำเอายุทธิสเถียสส
องแฅว” แสดงว่าพระญาติโลกราชเริ่มเคลื่อนทัพมาในเดือน ๕ (เหนือ) ต่อมาตำนานพระเจายอดคำทพย์ได ้
ิ
37
้
่
ื
บอกว่าทัพล้านนามาถึงเมื่อ “ปีรวงเม็ด เดือน ๖ เหนือเป็ง ๑๐ ฅ่ำ” คือกองทัพมาถึงเมื่อวันขึ้น ๑๐ คำ เดอน
35 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๖๕.
36 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๖๖.
37 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๖๖.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๙๓