Page 248 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 248
เนื้อความที่ ๑๘
ิ
ในกาละนั้น พระญาจอมธัมม์ติโลกะมหาราชาฟ้าฮ่ามจึ่งได้เสกหื้อหมื่นด้งนครเจ้าเวียงละกอร ขึ้นกน
เวียงไธยเชียงแคว้นใต้ แลถาปะนาใส่ชื่อว่า “เวียงเชียงชื่น” ยกขึ้นนั่งแหล่งแท่นฅำเป็นเจ้าช้างปางฅำ
เจ้าหมื่นด้งนครแลสั่งเทวีอั้วป้านฅำ นางเวียงเจ้าช้างหมื่นด้ง แลญาติวงศากุมเทครัวชาวเวียงละกอ
รลงมาใส่ไว้ในเวียง
เป็นการกล่าวถึงพระญาติโลกราชได้แต่งตั้งให้หมื่นด้งนคร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชลียง ดังข้อความใน
ื
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ คือ “พระเปนเจ้าค็หื้อหมื่นด้งกินเมืองชะเลียงปลีนั้น หมื่นด้งได้กินเมืองสองเมืองคอ
40
เมืองนคอรกับเมืองชะเลียง วันนั้นแล”
แล้วตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ได้บอกว่าได้มีการใส่ชื่อเมืองเชลียงใหม่ว่า “เวียงเชียงชื่น” แต่ตำนาน
พื้นเมืองเชียงใหม่ไม่ได้กล่าวถึง
่
ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ได้บอกว่า “เจ้าหมื่นด้งนครแลสั่งเทวีอั้วป้านฅำ นางเวียงเจ้าช้างหมืนด้ง
แลญาติวงศากุมเทครัวชาวเวียงละกอรลงมาใส่ไว้ในเวียง” ซึ่งเป็นการบอกว่าภรรยาหมื่นด้งนครชื่อว่า “อั้ว
ป้านคำ” ในคำว่า “อั้ว” หมายถึง ลำดับลูกสาวคนที่ ๕ ส่วน “ป้าน” หรือ “พ้าน” ในภาษาล้านนา หมายถึง
ดอกบัวสาย หรือ อุบลชาติ “ป้านคำ” จึงหมายถึง นางบัวสายทอง ซึ่งหมื่นด้งได้สั่งให้นางเทวี (ภรรยา) นำ
41
ชาวเวียงละกอร (นครลำปาง) เข้ามาอาศัยอยู่ในเวียงเชียงชื่น
เนื้อความที่ ๑๙
้
ข้างฝ่ายตนพระญาเจ้าช้างนั่งเวียงลับแลงไชยเวียงเชียงใหม่แกวกว้าง ก็แต่งเวียงแลก้ำพระศาสนาทะรง
่
ั
้
่
สั่งหื้อหาญฅำลือ หาญคงเสน ๒ เสนามอำมาตย์ไดปงฝูงฅนเข้าแตงสร้าง แป๋งพิหารใหมวดช้างแล่นหัว
ข่วง ด้วยอารามหลังเก่าต้องไฟปืนเหล้มกล้าห่าหลวงไหม้ม้างลง
เป็นการอธิบายถึง พระญาติโลกราชได้มีรับสั่งให้ “หาญคำลือ” (บางแห่งเขียนว่า คงลือ) กับ “หาญ
คงแสน” ซึ่งตำนานฯ ได้บอกไปแล้วว่า หาญคำลือเป็นขุนนางเมืองนครลำปาง ส่วน หาญคงแสน เป็นขุนนาง
่
เวียงซากสระหลวงแต่เดิม สองขุนนางนี้ได้เป็นผู้รั้งรักษาเมืองลับแลงไชยแล้วให้ “แป๋งพิหารใหม่วัดช้างแลนหัว
ข่วง” คือให้สร้างวิหารใหม่ที่วัดช้างแล่นหัวข่วง ที่ถูกไฟไหม้ลง
40 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙, หน้า ๗๒.
41 สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒,
ั
หน้า ๔๖๕๙.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๙๘