Page 252 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 252
เนื้อความที่ ๒๒
ค่ำวันนั้นเกิดเหตุอุบาททะวะอสุนียะบาทฟาดวะไฟไหม้โฮงหลวงพิหารพระเจ้ายอดฅำติ๊บ วัดลับแลง
หลวง ชาวข้าวัดดับแก้ไขได ้
เป็นการกล่าวถึงหลังจากงานถวายตัวนางสุคันธากับนางสรีพิมพา ในค่ำวันนั้นได้เกิด “อสุนียะบาท”
คือ ฟ้าผ่า ลงมาที่วิหารพระเจ้ายอดคำทิพย์ วัดลับแลงหลวง ชาวเมืองจึงได้ช่วยกันดับไฟไหม้นั้นจนเรียบร้อย
เนื้อความที่ ๒๓
แลมีใบท้องตราแจ้งวาพลเศิกแค่ชาวฮ่อยกพลลงเขตเวยงพิงคณทีหนเหนือ ตนพระญาติโลกะราชาฟ้า
ี
ั้
่
ฮ่ามพระเจ้าช้างตนหลวงก็แตงพลเศิกยกขึ้นเวียง แต่ก่อนวันขึ้นได้ ทะรงเถิงยังองค์สังฆาธุเจ้า ตงราช
วัตรฉัตรตุงส่งสืบชะตาเวียงตามแนวไจยมังคลาสถาน ประตูผ่านเวียงหนเหนือ ประตูหัวข่วง ธุเจ้าวด
ั
ใหม่ช้างแล่นหัวข่วงรับตั้ง ๑ หนวันออกประตูเชียงผาแก้ว ธุเจ้าวัดเจติยะพิหารรับตั้ง ๑ หนใต้ประตูสวน
ดอกสัก ธุเจ้าวัดบุปผารามรับตั้ง ๑ หนวันตก ประตูท่าดอกป้าน ธุเจ้าวัดมหาวันน้ำล้อมรับตั้ง ๑ แล
ประตูท่าช้าง ธุเจ้าวัดลับแลงหลวงรับตั้ง ๑ ก็สมเร็ดดั่งใจหมาย
้
เป็นการกล่าวถึงพระญาติโลกราชไดไปรบศึกฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๒ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บอก
ว่า พระญาตโลกราชนำพลศึกไปเมืองลื้อ เมืองพรง ก่อนยกทัพขึ้นไปได้ทำการสืบชะตาเมืองลับแลงไชย ท ี่
ิ
44
สำคัญคือได้บอกว่าเมืองลับแลงไชยมี ๕ ประตู ดังนี้
๑) “ประตูผ่านเวียงหนเหนือ ประตูหัวข่วง” คือ ทางทิศเหนือเรียกว่า “ประตูหัวข่วง” หรือประตูที่อยู่
ทางด้านตอนบนของเมือง
๒) “หนวันออกประตูเชียงผาแก้ว” คือ ทางทิศตะวันออกเรียกว่า “ประตูเชียงผาแก้ว”
๓) “หนใต้ประตูสวนดอกสัก” คือ ทางทิศใต้เรียกว่า “ประตูสวนดอกสัก”
๔) “หนวันตก ประตูท่าดอกป้าน” คือ ทางทิศตะวันตกเรียกว่า “ประตูท่าดอกป้าน”
๕) “ประตูท่าช้าง” ไม่บอกว่าอยู่บริเวณทิศใดแน่ชัดแต่คงเป็นประตูที่นำช้างเข้าออกเมือง
แต่ด้วยเหตุการณ์ขึ้นไปรบเมืองลื้อในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่หมื่นด้งนครจะได้มาครอง
เมืองเชลียง (เชียงชื่น) ทำให้เห็นถึงความลักลั่นของข้อมูล
44 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๗๑.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑๐๒