Page 240 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 240

เนื้อความที่ ๙


                 กาละล่วงเถิงพระญามหาธัมมะปาละ  ผู้เป็นใหญ่ในเวียงไจยสุโขไธยแก้วกวาง บ่ตั้งในศีลธัมม์กำสอน บ่
                                                                                 ้
                 ค้ำชูพระศาสนาชาวพาราไดยาก ข้าวนาตายผากตายพาย ฝูงวัวควายยากไร้ได้ห่าฝูงขุนหมื่นชายหาญก   ็
                                        ้
                 แตกเป็นเหล่าเป็นหมู่ แลยังถูกเวียงไธย เวียงกะลอมใต้โลกหล้า เวียงสะหรีโยธิยาใหญ่กว้าง เวียงนา
                 กว้างช้างหลายได้แผ่ผายกุมเวียงไจยสุโขไธย



                       เป็นการอธิบายถึง “พระญามหาธัมมะปาละ” หมายถึง พระญาบานเมือง หรือ พระญาบาน ได       ้
               ราชาภิเษกทรงพระนามว่า พระศรีสุริพงศ์บรมบาลมหาธรรมราชาธิราช หรือ พระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๔ ได ้

               ครองราชสมบัติที่เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๕๒ หลังจากที่สมเด็จพระมหาธรรม

               ราชาธิราช ที่ ๒ สวรรคต และมีการครองราชย์อย่างเป็นทางการเป็น “มหาธรรมราชาธิราช ที่ ๔” ใน พ.ศ.
                                                              25
               ๑๙๖๙ ตามจารึกหลักที่ ๑๒ รอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ
                                                                                               ี่
                       เมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้ ๓๖ พรรษาใน พ.ศ. ๑๙๗๐ ได้สร้างรอยพระพุทธบาทคู่ ไว้ทวัดพระศรีรัต
               นมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก (ปัจจุบันอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  กรุงเทพฯ) ลำดับเป็นจารึกหลักที่ ๑๒ จารึกรอย
                                    26
               พระยุคลบาท วัดบวรฯ   ซึ่งในตำนานมูลศาสนา ฝ่ายสวนดอก / ฝ่ายป่าแดง / ฝ่ายยางควง ได้บอกว่า
               พระองค์ได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนานิกายใหม่ จากคณะสงฆ์ของพระญาณคัมภีร์ ที่ไปบวชเรียนพระธรรม

               วินัยจากลังกาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๖๖ และเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๑ – ๑๙๗๒ ได้มาเผยแผ่พระศาสนาที่เมืองพิษณุโลก ซึ่ง
               พระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๔ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ใหม่เป็นอย่างมาก แต่จากข้อความ

                                               ้
               ตอนนี้ในตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ไดบอกว่าพระองค์ไม่ตั้งในพระธรรมคำสอนอุปถมภ์พระพุทธศาสนา หรือ
                                                                                     ั
               อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างของคณะสงฆ์ฝ่ายสวนดอกหรือนิกายเดิมจึงนำมาผูกเป็นเนื้อความตอนนี้


               เนื้อความที่ ๑๐


                                                                                                    ้
                 ฝ่ายพระญาใต้เจ้าสามตนเป็นใหญ่สะหรีโยธิยา ก็พลเสิกเข้าตีต่อกับเวียงคณทีเชียงใหม่เป็นกำลังดวยขุน
                                                                                           ี
                 แส่เจ้าเมืองเทิงเป็นเหตุ  แต่ก็ต้องกลเศิก  พระญาติโลกะมหาราชาฟ้าฮ่ามตนเจ้าช้างเวยงพิงคณทีแตก
                 หนีในยามนั้น  พระญาใต้ได้เจ็บตายปลงลงป่า







                       25  ตรงใจ  หุตางกูร, การปรับแก้เทียบศักราชและการอธิบายความพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวง
               ประเสริฐ, กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๖๑, ๓๗ – ๓๙.
                       26  กรมศิลปากร, ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย, ๒๕๔๘, หน้า ๓๓๔ – ๓๓๘.

                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๙๐
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245