Page 236 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 236

ื
                                                                                             ์
               เหตุการณ์ที่พระญาไสลือยกพลศึกไปช่วยท้าวยี่กุมกามรบเชียงใหม่ แสดงว่าหลังจากเหตุการณนี้พระญาไสลอ
               ได้ให้ท้าวยี่กุมกามเทครัวชาวเชียงรายลงมายังเมืองซาก


               เนื้อความที่ ๗


                 เหตุปีข้าวนั้นมีกาละวิบากกวากขึด ช้างแม่งาออนเกิดลูกตายสองงวงร่วมตว แลชาวเวียงก็ชิงกินซากผิด
                                                                                ั
                 เภทต้องภัย เหตุบ่ตั้งในศีล บ่กินในธัมม์พระเจ้า ผีป่าผีซากเข้าสิงเวียง น้ำแม่ปั้ดม่อนดอยพัง ฝูงชาวไธย

                 สระหนองหลวงจมตายเป็นบ้ามีมาก


                       เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในปีที่ท้าวยี่กุมกามยกพลก่อนมาถึงพื้นที่แห่งนี้ เกิดภัยพิบัติในพื้นที่เวียง

               แล้วมีพายุทำให้ “น้ำแม่ปั้ดม่อนดอยพัง” คงเป็นดินโคลนถล่มจากภูเขา ชาวเวียงได้รับภัยพิบัติรุนแรงมาก


                 เจ้าพระญาเวียงไธยจึ่งเทชาวเชียงรายใส่ไว้ในเวียงสระหนองหลวงนั้น แลยกเอาเจ้ายี่กุมกวามแก้ววง

                 เมืองตนพระญานั่งเวียง


                       เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระญาไสลือไทย (พระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๒) ให้ชาวเมืองเชียงราย

               มาอาศัยอยู่บริเวณเวียงซากเก่าหรือเวียงสระหนองหลวง แล้วให้ท้าวยี่กุมกามขึ้นครองเมืองนี้ ซึ่งตำนาน
                                  ่
                                          ้
                                                                                                        ์
               พื้นเมืองเชียงใหม่ได้กลาวถึงว่าทาวยี่กุมกามเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระญาแสนเมืองมา กษัตริย์องคท  ี่
               ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ ปี พระญาแสนเมืองมาจึงโปรดให้มา
                                                                                                    16
               ครองเมืองเชียงราย คือ พ.ศ. ๑๙๓๒ เมื่อพระญาแสนเมืองมาสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๑๙๔๔   กลม
                                                                                                        ุ่
                                                                                                  17
               ขุนนางเมืองเชียงใหม่ได้ยกราชสมบัติให้แก่พระญาสามฝั่งแกนซึ่งเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๓   ขณะมี
               พระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ขณะยังทรงพระเยาว์สร้างความไม่พอใจให้กับท้าวยี่กุมกามที่เมืองเชียงราย

               หลังจากนั้นท้าวยี่กุมกามจึงขอกำลังจากพระญาไสลือ กษัตริย์เมืองสุโขทัยให้ยกทัพมาช่วยชิงราชสมบัติเมือง
               เชียงใหม่ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้บอกว่า พระญาไสลือมาทำศึกในปีเต่าสะง้า คือ พ.ศ. ๑๙๔๕   แต่ข้อมูล
                                                                                                18




               เป็นที่ระลึกและส่งเสริมการค้นคว้าวิจับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เนื่องในโอกาสที่นครเชียงใหม่สถาปนามาครบ ๗๐๐ ปี

               วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙, หน้า ๑๐๗.
                       16  ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพื้นเมืองเชียงราย ได้กล่าวถึงปีที่พระญาแสนเมืองมาสวรรคตไว้ตรงกัน
                       17  พระญาสามฝั่งแกนประสูติเมื่อวันอังคารขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๖ ใต้) จุลศักราช ๗๕๑ หรือ พ.ศ.

               ๑๙๓๒ ; สรัสวดี  อ๋องสกุล, “พนเมืองเชียงราย”, พินิจหลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนา, เชียงใหม่ : ศูนย์ล้านนาศึกษา
                                       ื้
               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๙, หน้า ๗๓.
                       18  ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๕๘.

                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๘๖
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241