Page 231 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 231
เนื้อความที่ ๔
ในยามนั้นขุนพระญารามราชเจ้าก็เถิงยังพุทธาพินิหาร อันธาตุเจ้าองค์ฅำหมายมีพญาฟานฅำลับเสี้ยงใจ
ตายฝังไว้หว่างเขาฅำนั้น ก็สดับเถิงยังปาระมี แห่งพญาตนวิเศษก็ลอยผุดขึ้นยังใจข่วง แลลอยเหินผัด
ขึ้นวันเหนือล่องใต้สามหน แลลอยจมลงยังแม่แผ่นดิน ขุนพระญารามเจ้าจึ่งมีใจแป๋งแต่งสร้างยังพิหาร
สายดือเวียงเป็น ไจยเวียง
ุ
เป็นการกล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงได้สมผสถึงอภินิหาริย์ของพระธาตที่พญาฟานฅำฝังไว้ พระธาตนั้น
ั
ั
ุ
่
ได้ลอยขึ้นที่ “ใจข่วง” ไปทางทิศเหนือเวียนไปทางทิศใต้ (เป็นทักษิณาวัตร) สามรอบ แล้วลอยจมลงในแผนดน
ิ
พ่อขุนรามคำแหงจึงได้สร้าง “พิหารสายดือเวียง” หรือ วิหาร ขึ้นที่กลางเวียงเป็น “ไจยเวียง” คำว่า “ไจย”
ภาษาไทยเหนือคือ “ไชย” หรือ “ชัยมงคล” อันเป็นคนละความหมายกับ “ใจ”
เนื้อความที่ ๕
กาละล่วงไปเถิงยังตนขุนองค์ฅำลือไธย ตนเป็นใหญ่ในโลกหล้า แลยกเวียงสระขึ้นกับเวียงชะเลียง แล้ว
จึ่งได้ผาถะนา ยังพระศาสนาองค์พุทธเจ้าน้อมนำเอากระดูกเจ้าธาตุฅำลุกมาแต่ในเวียงไธย จึ่งได้มาแป๋ง
แต่งสร้างยังองค์พระธาตุเจ้าเจติยา ตั้งอารามพิหารใหญ่กว้าง บนม่อนป่าแก้วดอยงาม ชื่อว่า เจติยะ
พิหารอารามคีรีเขต แลฟื้นวัดห่างร้างฝูง ทำนุพระศาสนา ชาวพารามล่มใต้ มีสุขสันต์ค่ำเช้าเข้าฅืน ข้าว
็
ี
ิ่
้
กล้าในนาบัวริบูรพรั่งพร้อม หมากป้าวจาวตาลกงก้อมดกดาด ฝูงสัตว์ตัวกาจตัวหนา ฝูงช้างมากมมาก
นัก นั่นแล
ิ
้
ซึ่ง “ขุนองค์ฅำลือไธย” เป็นข้อความในฉบบที่ ๒ ส่วนฉบับที่ ๑ ไดเขียนว่า “ขุนองค์ฅำลไธย” คำว่า
ั
“ลือไธย” คงมาจาก “ฦๅไทย” อันเป็นพระนามของพระมหาธรรมราชาธิราช ที่ ๑ (ครองเมืองสุโขทัยเมื่อ พ.ศ.
๑๘๙๐ – ๑๙๑๒) ส่วนคำว่า “ลิไธย” เป็นพระนามที่แผลงจากภาษาบาลีว่า “ลิเทยฺย” จึงอ่านว่า ลิไทย ไดยก
้
“เวียงสระ(ลวง)” ขึ้นกับ “เวียงชะเลียง” คือ เมืองศรีสัชนาลัย ได้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงนำเอา
ิ
พระธาตุมาประดิษฐานสร้างเป็น “องค์พระธาตเจ้าเจตยา ตั้งอารามพิหารใหญ่กว้าง บนม่อนป่าแก้วดอยงาม
ุ
ชื่อว่า เจติยะพิหารอารามคีรีเขต” สอดคล้องกับศิลาจารึกหลักที่ ๓๑๙ จารึกเจดีย์พิหาร ที่ขุดได้ที่หน้าวิหารวัด
เจดีย์คีรีวิหาร ตำบลนาโป่ง (ปัจจุบันเป็นตำบลฝายหลวง) อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แลวมหาอำมาตย์ตรี
้
12
พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ (ในสมัยรัชกาลที่ ๗) สภาพหัก
12 พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) ดำรงดำแหน่งผู้วาราชการจังหวดพิษณุโลกคนที่ ๓ ในทินนาม “พระยา
ั
่
พิษณุโลกบุรี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๕๘ และย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์คนที่ ๖ ในทินนามเดิม
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๘๑