Page 230 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 230

คือ กล่าวถึงในช่วงสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นกษัตริย์สุโขทัยนั้น (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๑ - ๑๘๔๒)

               ได้เล็งเห็นพื้นที่ “ข่วง” หรือ ที่ราบกว้าง ระหว่างแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยม มีดอยภูเขาสูง ม่อนระสี หรือ ม่อน
                                                                                                      ่
               ฤๅษี มีลำน้ำสองสายคือ “น้ำแม่ห้วยแก้วจุมปู” กับ “น้ำแม่ห้วยทรายฅำ” โอบล้อมหนองสระหลวง ซึ่งแตก่อน
               นั้น “ข่วง” นี้ เป็น “เวียงเก่า เจ้าร้าง เวียงทะรากสร้างแต่หนหลัง” สอดคล้องกับตำนานเมืองสมัยที่มี “ชาวกะ

               ลอม” มาอาศัยอยู่แล้วเกิดพายุดินโคลนถล่มจึงมีชื่อเรียกว่า “เวียงทะราก” เมื่อสังเกตคำว่า “ทะราก” หรือ
               “ทราก” เป็นคำควบกลำไม่แท้ (ทร เป็น ซ) ควรอ่านว่า “ซาก” ซึ่งหมายถึง “ซาก” ของเวียงแต่ครั้งเก่า และ
                                   ้
               ยังมีความสอดคล้องกับ พงศาวดารโยนก  ที่บอกว่า “พระยาไสลือไทยจึงแต่งให้ท้าวยี่กุมกามไปครองเมือง

                                          8
               ซาก (อยู่แม่น้ำซากแควยม)”  จึงมีความสอดคล้องกับชื่อเวียงในตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ แม่น้ำซากนี้
                                                                                              ั
               คาดว่าจะเป็นลำน้ำ “แม่ราก” ที่กร่อนคำมาจากคำว่า “ทะราก” (ทราก) มีต้นน้ำจากเทือกเขาลบแลไหลผาน
                                                                                                       ่
               ตำบลบ้านตึกมาลงแม่น้ำยมที่ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อาจเป็นไปได้ว่าในช่วงที่พระยา

               ประชากิจกรจักร (แช่ม  บุนนาค) ได้เรียบเรียงพงศาวดารโยนก (สมัยรัชกาลที่ ๕) ยังเป็นที่รับทราบว่าลำน้ำแม่
               รากคือแม่น้ำซาก จึงพ้องกับพื้นที่แอ่งลับแลอันเป็นต้นน้ำของลำน้ำสายนี้

                       ด้วยพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์จึง “ได้เทครัวฝูงจาวคนเวียงไธย มาปุกแป๋งแต่งเวียง แลใส่

                                                                                                  ื่
               ชื่อว่า เวียงสระหลวง” คือ ให้ประชาชนราษฎรเขามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ “เวียงทะราก” เดิม แล้วให้ชอใหม่กับ
                                                         ้
                                                                                                 ่
               บริเวณนี้ว่า “เวียงสระหลวง” ชื่อนี้มีความคล้ายกับชื่อเมืองพิษณุโลกเดิมคือ “สรลวงสองแคว” แตเดมนั้นนัก
                                                                                                   ิ
                                                                                                      ั้
               ประวัติศาสตร์ก็ได้อ่านว่า “สระหลวง” แต่เนื่องจากในสมัยสุโขทัยใช้คำว่า “ตระพัง” แทน “สระน้ำ” ทงสิ้น
               และในจารึกหลักที่ ๒ วัดศรีชุมได้กล่าวถึง พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ได้เกิดยังนครสรลวงสองแคว จึงเป็นไป
                                                                                          9
               ไม่ได้ที่คนๆ เดียวจะเกิดในสองเมืองได้ นครสรลวงสองแควนั้นจึงหมายถึงเมืองพิษณุโลก  ซึ่งชื่อ “เวียงสระ
                                                                                                         ้
               หลวง” ในที่นี้อาจมาจากภาษาเขมรโบราณ คือ คำว่า “ชฺรลวง” แปลว่าลำน้ำ อันเป็นการเลื่อนเสยงควบกลำ
                                                                                                ี
                                            10
                                                                                                        11
               “-ร” ระหว่าง [ ชฺร- / จฺร- / สฺร- ]   อีกทั้งในภาษาล้านนาคำว่า “สะลวง” ยังหมายถึง ลำน้ำ หรือ ห้วงน้ำ
               ชื่อเวียงนี้จึงควรอ่านว่า “สะระลวง” หรือ “สะลวง” มากกว่า “สระหลวง” ที่แปลว่าสระน้ำใหญ่








                       8  พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม  บุนนาค), พงศาวดารโยนก, พิมพ์ครั้งที่ ๖, กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, ๒๕๑๕, หนา
                                                                                                         ้
               ๓๑๕.

                       9  พิเศษ  เจียจันทร์พงษ์, “ไม่มีเมืองสระหลวงในสมัยสุโขทัย”, ฟื้นฝอยหาตะเข็บ, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๓, หนา
                                                                                                         ้
               ๑๙ – ๓๕.
                       10  ตรงใจ  หุตางกูร, มรดกความทรงจำแห่งเมืองศรีสัชนาลัย - สุโขทัย : ประมวลจารึกสมัยพระยาลิไทย,

               กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๕๘, หน้า ๑๙๑.
                       11  จุฑารัตน์  เกตุปาน, “ตำนานพระศรีศรัทธา”, วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ ๔ (ฉบับพเศษ),
                                                                                                      ิ
               กันยายน - ธันวาคม ๒๕๕๐, หน้า ๗.

                                             การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
                                                        หน้า ๘๐
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235