Page 229 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 229
เนื้อความที่ ๒
ระยะเวลาผ่านมาอีก ๑๐๐ ปี ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ได้กล่าวต่อไปว่า
ยังมีพุทธมานพหนุ่มองค์งาม ผู้สืบเกล๊าเจ้าเครือปู่ท้าวลาวจกตนไต่เกิ๋นฅำ ก็นำฝูงคนทั้งหลาย เดินลัด
ดอยลอยห้วยข้ามโขงเขตน้ำ ข้ามถ้ำเขตดอย มาเถิงยังข่วง อันงามริมตาฝั่งแม่น้ำยมออน ก็ปกบ้าน
สร้างเวยง ใส่ชื่อว่า เวียงฅำน้ำใส สุโขไธย
ี
จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พบว่า ผู้ปกครองราชวงศ์สุโขทัยเรียกตนเองว่าเป็น “ชาวเลือง”
ปรากฏในจารึกหลักที่ ๔๕ จารึกปู่สบถหลาน ตรงกับ “ชาวเลิง” ในวัฒนธรรมลุ่มน้ำแดง ในประเทศเวียดนาม
ี่
ุ่
การที่ตำนานฯ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คงราว พ.ศ. ๑๗๐๐ เป็นช่วงที่แคว้นสุโขทัยเป็นเมืองสำคญของพื้นทลม
ั
แม่น้ำยม และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมรเมืองพระนครและละโว้ (ลพบุรี) ส่วนคำว่า “ปู่เจ้าลาวจก”
นั้นไม่พบในเอกสารตำนาน เมื่อตรวจสอบกับตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารเงินยางเชียงแสนได ้
พบว่าต้นบรรพชนของราชวงศ์มังรายนั้นคือ “พระญาลวจังกราชะ” ครองเมืองเหรัญนคร(เงินยาง) ในช่วงพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๓ แต่ไม่ปรากฏการใช้คำว่า “ปู่เจ้าลาวจก” แต่อย่างใด จึงเป็นไปได้ว่าชื่อคำนี้คงมีการแผลงคำขึ้น
ในยุคหลัง
เนื้อความที่ ๓
สืบเจ้าช้างมากหลาย แผ่วงยายใหญ่น้อย เถิงยังขุนหอฅำเมืองไธยตนเป็นใหญ่ใต้ฟ้า ฅนลุ่มหล้านบยำ
ขุนองค์ฅำรามราชเจ้า
เป็นการกล่าวถึงเมืองสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองขยายแว่นแคว้นกว้างใหญ่ มีขุนหรือเจ้าเมืองต่าง ๆ เข้า
มาสวามิภักดิ์ จนกระทั่งถึงรัชกาล “ขุนองค์ฅำรามราชเจ้า” ชื่อนี้มีความหมายถึง พ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีการใช ้
“รามราช” ใน จารึกหลักที่ ๔๕ จารึกปู่สบถหลาน, จารึกวัดป่ามะม่วง, ไตรภูมิกถา, ยวนพ่าย โคลงดั้น
ก็ได้เล็งหันยังข่วงงามหว่างน้ำตาฝั่งมหาสาขาแม่น้ำน่านคณที แลน้ำแม่ยมออน มีดอยเกล๊าปู่เจ้าเขาเหิน
่
ม่อนดอยเนินระสี น้ำแม่ห้วยแก้วจุมปู แลน้ำแม่ห้วยทรายฅำโอบล้อม หนองสระหลวง แลข่วงกอนบ่อน
้
้
นี้แต่เดิมออนก็ยังเป็นเวียงเก่าเจ้าราง เวียงทะรากสรางแต่หนหลัง ก็มีใจใคร่แผ่สายยายเวียง แลหันว่า
เปิงแก่การปลูกกล้าหว่านข้าว ด้วยน้ำท่าบัวร ิ
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๗๙