Page 228 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 228
ปู” คือแม่ห้วยแก้วชมพู ที่จะหมายถึงลำห้วยแม่พูลหรือคลองแม่พร่อง และ “น้ำแม่ห้วยทรายฅำไหลลงดอย
ปู่เจ้าเกล๊าผีม่อนระสีใหญ่กว้าง” คือ ลำน้ำห้วยทรายไหลจากดอยม่อนฤๅษีทางทิศตะวันตก
บริเวณนี้มี “พญาฟานฅำ” คือ เก้ง ต่างจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่บอกถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่
7
เรียกเป็น “ฟานเผือก” ซึ่งพระพุทธเจ้าได้โปรด “พญาฟานฅำ” จึงมีใจน้อมยินดี และ “พญาฟานฅำ” จึงได ้
อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงหวังที่จะให้นำพระธาตุมารักษาไว้ที่บริเวณนี้ และได้มีพุทธทำนายถึง
“สืบไปปายหน้าจักมีตนพญาผู้ยังมีปารมีแก้ว จักได้มาสืบก้ำจู พระธาตุเจ้าสืบไป” หลังจากนั้นพญาฟานฅำ
จึงได้ “ผะอูบฅำจุธาตุ” จากนั้นได้ฝังพระธาตแลวสิ้นใจตาย และทำนายว่า “ปายหน้า วันตกลัยดอยที่นี้ ฝูง
ุ
้
คนทั้งหลายจักมาตั้งมาอยู่ปายหน้าจักได้ชื่อว่า “เวียงลับแลงไจย” จะแหล่” คำว่า “จะแหล่” แปลว่า มี
เท่านี้ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เขียนว่า “ชะแล”
๑.๒ ส่วนที่ ๒ เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องเขียนโดยอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความ
เกี่ยวข้องกับที่มาของชาวเมืองลับแล และมีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์และเจ้านายล้านนา ตลอดจนเรื่องราว
บางส่วนยังสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และคติชนของพื้นท ี่
เนื้อความที่ ๑
ได้กล่าวถึงหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑๖๐๐ ปี “มีชาวกะลอม สองฅนผัวเมียจาก
เมืองตักกะสีลานคราลุ่มฟ้าเมืองใต้ ได้มาปุกบ้านสร้างเวียงยังข่วงเวียงแห่งนี้” คำว่า “ชาวกะลอม” คง
แผลงมาจากคำว่า “กโรม” หรือ “ขอม” ที่แปลว่า ทางใต้ ชาวกะลอมจึงหมายถึง ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางทิศใต้ มา
จาก “เมืองตักกะสีลานคราลุ่มฟ้าเมืองใต้” เป็นการเปรียบเทียบให้หมายถึงเมืองลพบุรี (ละโว้) ซึ่งเมืองตกกะ
ั
ศิลา เป็นเมืองแห่งวิทยาการความรู้ในอินเดีย ซึ่งประกอบด้วยสำนักฤๅษี และเมืองลพบุรียังเปนศนย์กลางของ
ู
็
สถานีการค้าในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวเมืองนี้ “บ่ได้นบไหว้น้อมรับยังศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต ๋
นผ่องแผ่วใสบัวริสุท” คือ ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาในแนวคิดแบบเถรวาท (หินยาน) แต่อาจจะนับถือ
ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู หรือ ศาสนาพุทธ แบบมหายาน ตำนานจึงบอกว่าชาวเมืองนี้จึง “มีใจใฝมักในอธัมม์
่
มืดบอด เป็นทุรชนคนยักษ์บ่ตั้งในศิลานุวัตร” คำว่า “ศิลานุวัตร” มาจาก ศีล + วัตร แปลว่า การดำรงอยูใน
่
ศีล (ข้อควรละเว้น) นั่นคือชาวเมืองนี้ไม่มีธรรมะ พระอินทร์ พระพรหม พระยม จึงได้เล็งเห็นความไม่มีกุศล
่
ของผู้คน “จึ่งเนรมิตฝนหลวงงวงช้างปั้ดถมจมหาย ลางพ่องก็ตาย ลางพ่องก็หายจมดินสูนพูลทรายมอน
ดอยหล่มจมม้าง บ้านเวียงล่มจมหาย ฝูงคนหนีตายยายหยาด ละเป็นบ้านห่างร้างเวียง” คือ เหล่าเทวดาได ้
เนรมิตให้เกิดพายุฝนตก ดินโคลนถล่มไหลลงจากภูเขา ผู้คนได้หนีตายจากเหตุการณ์อุทกภัยนี้
7 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, ๒๕๓๙ หน้า ๓๒.
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๗๘