Page 114 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 114
110
04-17 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การงด Pubic Shaving งด Enema ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดตามหลักฐานเชิงประจักษ์
ผู้นำเสนอ : อรนุช เครือไทย
E-mail : nurse_navy@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4447 7020 ต่อ 229
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 1137 7596 ID line : nursenavy
หน่วยงาน : แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : การรับใหม่หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดที่โรงพยาบาลชุมพวงตามระบบเดิม มีการโกนขน
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและการสวนอุจจาระทุกราย ทำให้มีความเสี่ยงที่หญิงตั้งครรภ์ถูกมีดโกนบาดจากการ
โกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และเจ้าหน้าที่โดนมีดโกนบาดจากการเตรียมและโกนขน หญิงตั้งครรภ์ถ่าย
อุจจาระไม่หมดจากการสวน ทำให้อุจจาระที่ค้างอยู่ออกมาในระยะเบ่งคลอดลักษณะเหลว และทำความสะอาดยาก
กว่าอุจจาระปกติที่ไม่ได้สวน มีการศึกษาจากวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีในปัจจุบันพบว่าการงดโกนขนบริเวณ
อวัยวะสืบพันธ์ภายนอกและงดสวนอุจจาระไม่มีความแตกต่างในอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ แผลแยก การติดเชื้อใน
ทารกแรกเกิด ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดระยะเวลาในการรับใหม่ผู้คลอด จึงนำมาพัฒนากระบวนการในการดูแลผู้
คลอดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การงดโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและงดสวนอุจจาระในหญิงตั้งครรภ์
ที่มาคลอด
กิจกรรมการพัฒนา : 1) ทบทวนความสำคัญของปัญหา รวบรวมงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับ
ปัญหา 2) จัดทำกระบวนการดูแลผู้คลอดโดยใช้การอ้างอิงจากงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) ปฏิบัติตาม
กระบวนการ ดำเนินการทดลองใช้ และประเมินผลจากกระบวนการดูแลผู้คลอดโดยการงดโกนขนบริเวณอวัยวะ
สืบพันธุ์ภายนอกและงดการสวนอุจจาระในขั้นตอนการรับใหม่ผู้คลอด 3 เดือน ระยะเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 30
กันยายน 2561 4) นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองปฏิบัติมาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขและจัดทำกระบวนการรับใหม่ที่
ชัดเจน เหมาะสมกับบริบทห้องคลอดโรงพยาบาลชุมพวง ใช้จริงตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงปัจจุบัน
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : การวัดผลโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลตามเป้าหมายและตัวชี้วัด ตั้งแต่
1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562 พบว่า 1) หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลชุมพวง ได้รับการดูแลตาม
กระบวนการงดโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและงดสวนอุจจาระ ร้อยละ 100 2) จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่
คลอดมีแผลฝีเย็บ จำนวน 286 ราย จำนวนการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ1.39 ซึ่งยังไม่บรรลุเกณฑ์การ
ติดเชื้อที่แผลฝีเย็บน้อยกว่าร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ ปีงบประมาณ 2561 ร้อยละ
1.23 ไม่มีความแตกต่างในอัตราการติดเชื้อของแผลฝีเย็บ (ทบทวนและวิเคราะห์สาเหตุเกิดจาก มีน้ำคาวปลามีกลิ่น
เหม็น 2 ราย แผล Hematoma 2 ราย) 3) ขั้นตอนและเวลาในการรับใหม่หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดลดลงเฉลี่ย 5 - 10
นาที 4) ไม่พบอุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์ถูกมีดโกนบาดจากการโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และเจ้าหน้าที่
โดนมีดโกนบาดจากการเตรียมและโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ 5) หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลตามกระบวนการ
ดูแลดังกล่าวมีความพึงพอใจ ร้อยละ100 6) ต้นทุนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในกระบวนการรับใหม่ลดลงคือค่าใบมีด
โกน 644 บาท และ Unison enema จำนวน 6,440 บาท
บทเรียนที่ได้รับ : 1) ได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาคุณภาพและการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาพัฒนาคุณภาพงาน
บริการและมุ่งให้เกิดผลลัพธ์การดูแลที่ดีกับผู้รับบริการ 2) ประเด็นการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ ควรมีการวิเคราะห์สาเหตุ
อื่น ๆ เช่น พัฒนารูปแบบการดูแลและให้คำแนะนำผู้คลอดที่แตกต่างจากรูปแบบเดิม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมกรณี
การติดเชื้อ
คำสำคัญ : การงดโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก, การงดสวนอุจจาระเตรียมคลอด