Page 109 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 109
105
04-12 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด
ของห้องคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์
ผู้นำเสนอ : ศิริพร ชมงาม ธารินี บุญรอดรัมย์ และสุภาวดี เหลืองขวัญ
E-mail : mailsiriporn@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4432 9234 ต่อ 120
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 5856 1234 ID line : pooh…ii
หน่วยงาน : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ความเป็นมาและความสำคัญ : ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์พบได้บ่อยคือการตกเลือด
ภายใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จากสถิติห้องคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2560 - 2561 พบผู้คลอดตกเลือดหลัง
คลอดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.82 เป็น 3.62 และมีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 1.12 และ 0.93
ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบผู้คลอดที่มีภาวะช็อกและตัดมดลูก จำนวน 1 ราย จากการทบทวนปัญหาพบว่า เจ้าหน้าที่
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกไม่ถูกต้อง การส่งต่อข้อมูลเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดไม่ครอบคลุม และไม่
ครบถ้วน แนวทางการป้องกันการตกเลือดยังไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้
แนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกอย่างแท้จริง ทำให้การดูแลผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงต่อการตก
เลือดล่าช้า ส่งผลให้อัตราตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด
2) เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด
3) เพื่อประเมินความรู้ ทักษะปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติ
สมมติฐานการวิจัย : ผู้คลอดที่ใช้แนวปฏิบัติการป้องกันตกเลือดหลังคลอดระยะแรกแบบใหม่มีอัตราตกเลือดลดลง
กรอบแนวคิด : เปรียบเทียบอัตราการตกเลือดของผู้คลอดที่ใช้แนวทางแบบเก่าและแนวทางแบบใหม่
การดำเนินการวิจัย : วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การวิเคราะห์สาเหตุการตกเลือดหลังคลอด ระยะที่
2 นำแนวปฏิบัติแบบเก่ามาปรับใหม่โดยสูติแพทย์เชี่ยวชาญ พยาบาลชำนาญการพิเศษ เภสัชกร ให้เหมาะสมกับ
บริบทโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จัดทำตรายางปั๊มส่งเสี่ยงตกเลือด จัดทำหุ่นจำลองมดลูก ระยะที่ 3 นำแนวทางมาใช้กับผู้
คลอดที่มีภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โดยเลือกแบบเจาะจง ในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2562 จำนวน
180 ราย เปรียบเทียบกับผู้คลอดที่มีคุณสมบัติเดียวกันที่ใช้แนวปฏิบัติแบบเก่าจำนวน 180 ราย ประเมินทักษะ
ความรู้ และการใช้แนวปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 20 ราย โดยใช้สถิติ Chi-square และ One sample T-testใน
การวิเคราะห์
ผลงานวิจัยและอภิปรายผล : ได้แนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกที่เหมาะสมกับบริบทของ
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เมื่อนำมาใช้กับผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงพบว่า กลุ่มทดลองมีสัดส่วนการตกเลือดต่ำกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราช็อก และอัตราตายจากตกเลือดหลังคลอดเท่ากับ 0 และพบว่าคะแนน
ความรู้ของพยาบาลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติร้อยละ
88.75
การนำไปใช้ : การประเมินภาวะเสี่ยงแรกรับการส่งต่อข้อมูล มีความสำคัญต่อการเฝ้าระวัง ควรมีการนำแนวทาง
ปฏิบัตินี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ให้กับเครือข่ายห้องคลอดโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป
คำสำคัญ : ภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก แนวปฏิบัติป้องกันการตกเลือด