Page 104 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 104

100


               04-07  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : Clinical Tracer Highlight : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย HIV
               ผู้นำเสนอ : รัชฎาภรณ์ ผิวทวี        ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

               E-mail : papsi_013@hotmail.com      เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : -
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 7244 1998   ID line : -
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลโนนนารายณ์เริ่มเปิดบริการคลินิก พ.ศ. 2561 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ขึ้น
               ทะเบียนและเข้ารับการรักษา จำนวน 71 ราย ให้บริการแบบ One Stop Service ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่หนึ่งและสาม
               ของทุกเดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด โดยกลับมารับยาตามสิทธิ์ หรือเมื่อเจ็บป่วยจะกลับมารักษาตัวที่
               บ้านและไม่ชอบเปิดเผยโรค ทำให้มารับบริการไม่ตรงนัด ขาดนัด นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ติดเชื้อบางรายไม่ยอมรับการ
               รักษา ดังนั้นจึงมีการทบทวนและหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มีคุณภาพต่อเนื่องถึงชุมชน

               มากยิ่งขึ้น
               กิจกรรมการพัฒนา :
               การเข้าถึงบริการ  1) จัดบริการคลินิกแบบ One Stop Service มีทีมสหวิชาชีพและอาสาสมัครรับผิดชอบ 2) ให้
               ข้อมูลความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 3)
               ค้นหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในผู้รับบริการกลุ่ม ฝากครรภ์ ผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สมัครใจ
               การประเมินและการดูแล  1) ให้คำปรึกษาก่อนและหลังตรวจเลือด แจ้งผลการตรวจภายในวันเดียว 2) ลงทะเบียนผู้
               ติดเชื้อเอชไอวี ตามโปรแกรม NAP 3) ประชุมทีมเพื่อวางแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ ขาดนัด และทำ
               ตารางนัดหมายผู้ป่วยรายเดือน ในการติดตามเจาะ Viral load ,CD4 และLab อื่น ๆ 4) ผู้ป่วยกินยาต้านไวรัสทุกคน

               จะต้องได้รับการประเมินความสม่ำเสมอในการกินยา โดยการนับเม็ดยาและการชักถามผู้ป่วย พร้อมกับคัดกรองความ
               เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและประเมินภาวะแทรกซ้อนจากยา 5) คัดกรอกมะเร็งปากมดลูก ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหญิง
               ทุกราย 6) ตรวจคัดกรองวัณโรค ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกราย
               การดูแลต่อเนื่องถึงชุมชน  1) ติดตามเฝ้าระวังการขาดยา (ติดต่อทางโทรศัพท์) 2) จัดตั้งเครือข่ายบริการถุงยาง
               อนามัยในชุมชน
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                                                                                 เป้าหมาย
                                             ตัวชี้วัด                                      2561  2562
                                                                                 (ร้อยละ)

                  1.ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่มีข้อบ่งชี้ได้รับยาต้าน                   >95     100    98.59
                  2. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการคัดกรอกมะเร็งปากมดลูก ทุกรายที่เป็นหญิง   >95   84.50  97.14
                  3. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการคัดกรอกวัณโรค                      >95     91.54  97.18
                  4. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทีวี CD4 น้อยกว่า 350 ได้รับการติดตามทุก 6 เดือน    >95   91.54  97.18
                  5. ผู้ป่วยที่กินยาต้านไวรัสได้รับการตรวจ Viral load              >95     91.54  97.18

               แผนการพัฒนาต่อเนื่อง :
                    1)  พัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยเพื่อมารับยาต่อเนื่อง และการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัส
                    2)  พัฒนาศักยภาพบุคลากร ทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี
                    3)  จัดให้มีจุดบริการถุงยางอนามัย ให้ทั่วถึงและครอบคลุมในหมู่บ้าน
                    4)  การเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดอัตราการตาย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109