Page 108 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 108

104


               04-11  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การใช้ Early warning sign ในการเฝ้าระวังภาวะ Uterine Atony สาเหตุการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด
               ที่ห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้นโรงพยาบาลรัตนบุรี

               ผู้นำเสนอ : บุญเติม จันทร์พร้อม และคณะ    ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
               E-mail : TERM_OR@hotmail.com                เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4459 9142 ต่อ 4
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1069 3320
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

               ความเป็นมาและความสำคัญ : โรงพยาบาลรัตนบุรี  พบอุบัติการณ์การตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด 1 รายโดยมีภาวะ
               เลือดออกทางช่องคลอดมาก หลังส่งผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดกลับตึกสูติกรรม 2 ชั่วโมงตกเลือดหลังคลอด และ
               Hypovolemic Shock แพทย์พิจารณาผ่าตัด Subtotal hysterectomy ด่วนและส่งชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยเป็น
               Placenta accrete (รกงอกติด) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ที่รุนแรง เป็นสาเหตุของ Uterine atony และ

               เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีผู้ป่วยอาจถึงแก่ชีวิต จึงมีการ
               พัฒนาการเฝ้าระวัง Uterine atony ซึ่งเป็นสาเหตุการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดโดยใช้ Early warning sign คือวัด
               ระดับยอดมดลูก (High of fundus (HF) และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก (Uterine tone) หลังผ่าตัดคลอดที่ห้อง
               ผ่าตัดและห้องพักฟื้น การ Early detected ภาวะตกเลือดที่ไม่สามารถป้องกันได้ (placenta  accreta) และให้การ
               ช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย
               กิจกรรมการพัฒนา : 1) สร้างเครื่องมือประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อให้การประเมินเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
               โดยกำหนดเครื่องมือประเมินการหดรัดตัวของมดลูก 2) ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก หลังรกคลอดในขณะผ่าตัด
               และ Active management ตามแนวทางที่กำหนด 3) วัดระดับยอดมดลูกก่อนออกจากห้องผ่าตัดโดยใช้ กระดาษ

               กาวติดที่หน้าท้อง วัดระดับยอดมดลูกและใช้ปากกาจุดที่ยอดมดลูกและที่หัวเหน่า เพื่อเป็นจุดสังเกตโดยวัดหน่วยเป็น
               นิ้ว และประเมินการหดรัดตัวของมดลูกแบ่งเป็น 4 ระดับและส่งต่อข้อมูลให้แผนกห้องพักฟื้น 4) วัดระดับยอดมดลูก
               และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก แรกรับเข้าห้องพักฟื้นและ ก่อนย้ายออกจากห้องพักฟื้นและส่งต่อข้อมูลให้แผนก
               สูติกรรมดูแลต่อเนื่องระดับยอดมดลูก ≥ 7.5 นิ้ว และการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อยระดับ 2 ให้เฝ้าระวังภาวะ
               Uterine atony อย่างใกล้ชิด
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : อัตราการ Early detected ภาวะตกเลือดหลังคลอดจาก Uterine atony
               และได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีที่ห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น ได้ร้อยละ 100 (161/161)
               บทเรียนที่ได้รับ : 1) การวัดระดับ High of fundus ร่วมกับการประเมินระดับการหดรัดตัวของมดลูก (Uterine
               tone) ช่วย Early detected ภาวะ Uterine atony ซึ่งเป็นสาเหตุของการตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาล

               รัตนบุรี โดย เฝ้าระวังเมื่อระดับ High of fundus ≥ 8 นิ้ว มดลูกหดรัดตัวอยู่ระดับ 2 ลงมาต้องรีบดำเนินการแก้ไข
               โดยการใช้ยาและไม่ใช้ยาตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อไป 2) เครื่องมือประเมินการ
               หดรัดตัวของมดลูก 4 ระดับสามารถทำให้เจ้าหน้าที่ประเมินภาวะ uterine  atony ได้ไปในแนวทางเดียวกัน
               คำสำคัญ : ตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด, Early warning sign, Uterine Atony
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113