Page 113 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 113
109
04-16 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : พ่อ-แม่รู้ผลไว ใส่ใจ ธาลัสซีเมีย
ผู้นำเสนอ : ปิยะวดี ศรีธรรม ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
E-mail : piyawadee.sri2531@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4432 9234
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 6247 0651 ID line : 086-2470651
หน่วยงาน : โรงพยาบาลสีดา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ในประเทศไทย มีผู้ที่มียีนโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินแฝงผิดปกติสูงถึงร้อยละ 40
ของประชากรไทย ผู้ที่มียีนแฝง มีสุขภาพแข็งแรงและรูปร่างหน้าตาเหมือนคนปกติ ทั้งผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มี
ยีนแฝง สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ บางรายอาจมีอาการรุนแรงมาก ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
รวมถึงสามี ควรได้รับการตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย หลังจากวินิจฉัยได้แล้วว่าหญิงตั้งครรภ์และสามีเป็นคู่เสี่ยง
ต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทั้งคู่ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ ซึ่งต้องให้ข้อมูลว่า โอกาสเสี่ยงที่
จะมีลูกเป็นโรคเท่าใด มีทางเลือกในการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ได้อย่างไรบ้าง คู่สามีภรรยาควรได้รับการตรวจ
เลือดวิเคราะห์สารพันธุกรรมโรคธาลัสซีเมีย เพื่อใช้สำหรับวินิจฉัยโรคแก่ทารกในครรภ์ต่อไป โรงพยาบาลสีดาได้
ทบทวนข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (2559 - 2561) พบว่า สามีคู่เสี่ยงได้รับการคัดกรองไม่ครอบคลุมคิดเป็น ร้อยละ 58, 60
และ 62.8 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย สาเหตุจากการขาดความรู้ ทักษะของผู้ปฏิบัติงาน
การประสานงานของเครือข่ายและสามีภรรยาคู่เสี่ยง
กิจกรรมการพัฒนา :
1. พัฒนาความรู้ภาคีเครือข่าย รพ.สต. ใน CUP สีดา เครือข่าย อสม. เกี่ยวกับแนวทางและมาตรฐานในการ
คัดกรองภายใต้สโลแกน “พ่อ-แม่รู้ผลไว ใส่ใจ ธาลัสซีเมีย”
2. ให้คำปรึกษาก่อนเจาะเลือดคู่เสี่ยงทุกราย
3. เพิ่มช่องทางส่งผลการเจาะเลือดกรณีสามีอยู่ที่อื่น ให้เจาะเลือดที่โรงพยาบาลใกล้บ้านและนำผลมาให้
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้
4. พัฒนาระบบส่งต่อ การดูแลที่ต่อเนื่อง และการสื่อสารผ่านช่องทาง Line กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก Cup
สีดาได้ทันทีที่ทราบผล
5. ผู้รับผิดชอบ เข้าถึงผลการตรวจได้รวดเร็ว ผ่าน Line กลุ่มธาลัสซีเมีย ANC โคราช
6. จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ทุก รพ.สต. ที่มีมาตรฐาน เพื่อเพิ่มความตระหนักในการเฝ้าระวัง
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
ตัวชี้วัด เป้าหมาย 2562
สามีคู่เสี่ยงโรคธาลัสซีเมียหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย 100% 80.60
บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาองค์ความรู้ของภาคีเครือข่าย ช่วยเพิ่มมาตรฐานในการคัดกรองและการเข้าถึงโรคธาลัสซี
เมีย และมีข้อจำกัดของสามีคู่เสี่ยงบางรายติดตามไม่ได้ เช่น สามีไปต่างประเทศ หย่าร้าง
คำสำคัญ : คู่เสี่ยงธาลัสซีเมีย