Page 115 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 115

111


               04-18  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
               ผู้นำเสนอ : รัชณีย์ จันทพิรักษ์      ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

               E-mail : Rak2506@hotmail.com        เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4431 2699 ต่อ 364 หรือ 365
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 9282 7627   ID line : jantapirak
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ข้อมูลห้องคลอดโรงพยาบาลปากช่องนานาพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ในปี
               2559, 2560 และ 2561 มีจำนวน 47, 57 และ 100 ราย ตามลำดับ ในจำนวนนี้พบหญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะชักจำนวน
               2, 1 และ1 รายตามลำดับ ในปี 2559 มีหญิงตั้งครรภ์ Refer ไปโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครราชสีมา เกิดภาวะ
               หยุดหายใจ 1 ราย สาเหตุเนื่องจากนำ MgSo 4 ออกจาก Infusion pump ทำให้การไหลของยาเป็น Free flow จาก
               การทบทวนอุบัติการณ์ยังพบว่ามีการดูแลรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษบางรายยังไม่ถูกต้อง แผนการรักษาของแพทย์ไม่

               เป็นไปในแนวทางเดียวกัน การบริหารยา MgSo 4 ไม่ถูกต้อง จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะครรภ์
               เป็นพิษ
               กิจกรรมการพัฒนา :
                    1.  ทบทวนอุบัติการณ์จากเวชระเบียน ย้อนหลัง ปี 2559 - 2561
                    2.  ประชุมกลุ่มเพื่อหาสาเหตุ ร่วมแก้ไข กำหนดแนวทางการดูแลและระบบส่งต่อกลุ่มเสี่ยง PIH จัดทำ CPG
                        ปรับปรุง Standing Order สำหรับ MgSo 4 ร่วมกับสูติแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรในการบริหารยา
                        สื่อสารข้อมูลจุดบริการอื่น ๆ ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล เช่น ER, ANC, PP, รพ.สต. คลินิก
                        เอกชน ให้เป็นระบบ Fast track

                    3.  ประสานเภสัชกร จัดทำ MgSo 4 Box for Pregnant ติดฉลากยา High Alert Drug ให้เป็นสีสะดุดตา
                    4.  สื่อสารการให้ยา MgSo 4 ต้องใช้ Infusion pump ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่ใดก็ตาม
                    5.  ร่วมโครงการแม่และเด็กสัญจร สื่อสารเพื่อเชื่อมโยงแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
                        แก่เจ้าหน้าที่ รพสต.
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                    1.  อุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดจากการบริหาร MgSo 4 และการผิดพลาดขณะส่งต่อ ปี 2562 = 0
                    2.  อัตราการเกิด Severe pre-eclampsia ปี 2562 ลดลงจากปี 2561 คือจาก ร้อยละ 9 เหลือ 4.5
                    3.  อัตราการเกิด Eclampsia ปี 2562 ลดลงจากปี 2561 คือจาก ร้อยละ 0.86 เหลือ 0.75
               บทเรียนที่ได้รับ : เกิดแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาระบบส่งต่อกลุ่ม

               เสี่ยง PIH จัดทำ CPG ปรับปรุง Standing Order สำหรับ MgSo4  การดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่การฝากครรภ์
               จนกระทั่งหลังคลอด
               คำสำคัญ : การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120