Page 117 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 117
113
04-20 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การติดตามการปรับขนาดยาต้านไวรัสเอดส์ ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง เพื่อชะลอภาวะไต
เสื่อม คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลศีขรภูมิ
ผู้นำเสนอ : พิมลพร อินงาม
E-mail : pinngam862@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4456 1160 ต่อ 114
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 6247 5374
หน่วยงาน : โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ความเป็นมาและความสำคัญ : ปัจจุบันผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ที่มีวินัยใน การ
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ มีแนวโน้มตอบสนองการรักษาที่ดี ระดับ CD4 เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ระดับ viral load <
40 ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCD เพิ่มมากขึ้น
ก่อให้เกิดภาวะไตเสื่อมหรือโรคไตเรื้อรังตามมา ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยที่ ได้รับยาต้านไวรัส
จำเป็นต้องมีการติดตามการทำงานของไตเป็นประจำทุกปี และทำการปรับขนาดยาให้ เหมาะสมตามการทำงานของ
ไต โดยก่อนปี 2559 การปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลงของ รพ.ศีขรภูมิ ยังไม่ครอบคลุมและ
ค่อนข้างล่าช้า ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงพัฒนาเป็นไตเสื่อมเรื้อรังได้ โดยเฉพาะ ยาในกลุ่ม NRTIs ได้แก่ Tenofovir
(TDF) ที่มีกลไกเป็นพิษต่อไต และ lamivudine (3TC) การปรับขนาดยา ให้เหมาะสมตามการทำงานของไต ถือเป็น
การช่วยป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ในผู้ป่วยได้อีกทางหนึ่ง
กิจกรรมการพัฒนา : 1) ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เพื่อวางแผนปฏิบัติงาน
2) ในวันที่มีการตรวจ lab ประจำปี เมื่อผล lab ออก เภสัชกรทำการคัดกรองค่า BUN, Cr ที่ผิดปกติ ส่งปรึกษาอายุร
แพทย์ เพื่อทำการติดตามผู้ป่วยมาปรับยาก่อนนัด 3) ในวันที่ผู้ป่วยมาตรวจรักษาตามนัด พยาบาลจุดซักประวัติ เขียน
ค่า lab ที่ผิดปกติ ลงในแฟ้มผู้ป่วย เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ 4) หากแพทย์ลืมปรับเปลี่ยนการรักษาตามผล lab เภสัช
กรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อยืนยันการรักษาอีกครั้งก่อนจ่ายยาให้ผู้ป่วย 5) กรณีค่า lab ผิดปกติค่อนข้างมาก เช่น SCr
> 2 mg/dL แจ้งทีมเพื่อติดตามผู้ป่วยให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้าตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 – 30
สิงหาคม 2562 พบอุบัติการณ์ การเกิดภาวะไตเสื่อมจากยา TDF จำนวน 5 ราย คิดเป็น 3.4% จากผู้ป่วยที่ใช้ยา TDF
ทั้งหมดแพทย์ได้ปรับการรักษาตามการทำงานของไตที่ลดลงจำนวน 4 ราย คิดเป็น 80% และ plan monitor Cr
ต่อเนื่อง อีก 1 ราย สำหรับยา 3TC มีผู้ป่วย 6 ราย ได้รับการติดตามปรับขนาดยาต้านไวรัส คิดเป็น 100% โดยสรุป
มีผู้ป่วยจำนวน 6 ราย จาก 7 ราย ที่ได้รับการปรับขนาดยาตามการทำงานของไต คิดเป็น 85.7%
บทเรียนที่ได้รับ : 1) ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องได้รับการปรับขนาดยาที่เหมาะสมได้ทันท่วงทีถูกต้อง
ตาม หลักฐานวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ ช่วยป้องกันและลด /ชะลอภาวะไตเสื่อมเรื้อรังจากยาต้านไวรัสเอดส์ 2)
ส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นผู้ป่วยเป็น
ศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีความปลอดภัยจากการใช้ยา ลด อาการไม่พึงประสงค์
และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์
คำสำคัญ : ยาต้านไวรัสเอดส์, การปรับขนาดยา