Page 122 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 122

118


               05-03  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : Auto refill

               เจ้าของผลงาน :  วีรวัฒน์ ชวนไชยสิทธิ์
               E-mail :        fsh2011_army2@hotmail.com          เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4423 4503
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : รพ.ค่ายสุรนารี มีห้องจ่ายยาเพื่อให้บริการทั้งหมด 2 แห่ง ปัจจุบันมีรายการยา
               ในบัญชี รพ. ประมาณ 1,200 รายการ ทั้งยาเม็ด  ยาฉีด  ยาน้ำ ยาใช้ภายนอก น้ำเกลือ ปัญหาที่คลังยาพบ คือ
               การดำเนินงานหลายขั้นตอน เบิกยาไม่ครบ จำนวนยาที่เบิกไม่สัมพันธ์กับอัตราการสั่งใช้ยา รายการยาที่คลังยา

               มีการเปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุ คลังยาจึงได้นำระบบ IT มาช่วยในลดขั้นตอนการทำงานในการพิจารณารายการยา
               และจำนวนที่ต้องการเบิก ลดระยะเวลาการเบิกยา ลดจำนวนครั้งของการเบิกยานอกวงรอบในแต่ละสัปดาห์
               ผลลัพธ์ คือ ทำให้ยามีการหมุนเวียน เพียงพอ และการกระจายยาเหมาะสม ไม่มีอุบัติการณ์ยาขาดคราว
               หรือยาหมดอายุ
               กิจกรรมการพัฒนา :  ระยะที่ 1 โปรแกรม E-PHIS มีการบันทึกข้อมูลการใช้ยาในแต่ละวัน ได้แก่ จำนวนการสั่งใช้ยา
               รายวัน จำนวนการเบิกยาจากคลังยาใหญ่ไปคลังยาย่อย ยอด Stock คงเหลือที่คลังยาย่อย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถ
               นำมาใช้เป็นตัวแปรในการคำนวณตามหลักการของ Logistic ทำเป็นระบบ AUTO REFILL เพื่อให้ได้รายการยา

               และจำนวนที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการสั่งใช้ในแต่ละสัปดาห์ แล้วกำหนดกลุ่มยานำร่อง ประมาณ 200 รายการ
               กำหนดเงื่อนไขการใช้ ยอดคงเหลือคลังยาย่อยต้องตรงห้องยาตรวจสอบความถูกต้องยอดคงเหลือคลังยาย่อย
                                  ระยะที่ 2 นำโปรแกรมสู่การปฏิบัติ โดยเพิ่มปุ่ม Function “ระบบเติมยา” ในโปรแกรม
                E-PHIS นำตัวแปรข้อมูลในระบบมาคำนวณตามหลักการ Logistic โปรแกรมจะแสดงรายการยาและจำนวนที่ควรเบิก
                คลิกเลือกรายการยาที่ต้องการ รายการยาจะไปปรากฏที่หน้าจอสรุปใบเบิกของเจ้าหน้าที่คลังยาจำนวน 1 คน
                ต่อประเภทยา ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่ใช้โปรแกรม AUTO REFILL สามารถกดบันทึก
                เพื่อพิมพ์ใบเบิกได้ทันที
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :
                       1) ขั้นตอนการทำงาน  จาก 3 ขั้นตอน เหลือ 1 ขั้น

                       2) ลดระยะเวลาในการทำงาน  จาก 3-4 ชม. เหลือเพียง 30 นาที
                       3) ลดจำนวนรอบในการเบิกยา จากเดิม 3 รอบ เหลือเพียง 1 รอบ  สามารถไปช่วยงานที่เร่งด่วนอื่น ๆ ได้
               บทเรียนที่ได้รับ : การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาขั้นตอนการเบิกยา ทำให้กระบวนการ
               ดังกล่าวมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และสะดวกมากยิ่งขึ้น จะขยายผลไปใช้ในระบบการเบิก สป. สิ้นเปลืองต่าง ๆ
               คำสำคัญ : โลจิสติกส์, การเบิกจ่ายยา
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127