Page 124 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 124
120
05-05 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกในการป้องกันปัญหา
ความคลาดเคลื่อนทางยา
ผู้นำเสนอ : อมรรัตน์ แพงไธสง และสุรวจี ธีระวัฒนา ตำแหน่ง : เภสัชกร
หน่วยงาน : งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ความคลาดเคลื่อนทางยาพบได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสั่งใช้ยา การจ่ายยา
จนถึงการบริหารยา การวางระบบให้สามารถดักจับป้องกันปัญหาความคลาดเคลื่อนได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก
ปัญหาเกี่ยวกับยาก็จะไม่เกิดกับผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ที่ผ่านมา พบว่า รายงานที่ดักจับปัญหา
ความคลาดเคลื่อนทางยามีน้อย ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาระบบงานบริการเพื่อค้นหาและป้องกันปัญหา
ความคลาดเคลื่อนทางยา
กิจกรรมการพัฒนา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เริ่มจากวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาระบบ
จากข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา โดยระบบที่พัฒนา 3 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2560 จัดทำแบบมาตรฐานการตรวจสอบ
ยา warfarin, carboplatin จัดทำ lab slip แสดงค่า electrolyte พร้อมวิธีจัดการเมื่ออยู่นอกช่วงเป้าหมาย
ที่กำหนด เช่น ค่า K, Mg เป็นต้น ทำ med slip ขนาดยา ARV ที่ต้องปรับตามการทำงานของไต ปี 2561 มี eGFR
visit ครั้งล่าสุดแสดงในใบสั่งยาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น eGFR, Hb, FBS, AST, ALT
เป็นต้น จัดทำ lab slip แสดงค่า INR และประวัติยาเดิมที่ได้รับเพื่อช่วยในการตรวจสอบยา warfarin , จัดทำ
แบบมาตรฐานการตรวจสอบยา ARV, digoxin syrup, ยา TB ข้อมูลคู่ยาซ้ำซ้อน ทบทวนคู่ยาที่มี Drug interaction
กับสมุนไพร Lock ระบบ Fatal drug interaction ปี 2562 เพิ่มข้อมูลยาซ้ำซ้อน ทำ med slip วันที่เริ่ม
และขนาดยา TB ที่ควรได้รับตามน้ำหนักตัว ทบทวนคู่ยาที่มีห้ามใช้ใน G6PD
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ก่อนพัฒนาระบบ ค้นหาและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้ 1,324
ครั้ง (4.0 ครั้ง/1,000 ใบสั่ง) หลังพัฒนาระบบสามารถค้นหา และป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้เพิ่มขึ้น
ในปี พ.ศ.2560 เพิ่มเป็น 2,032 ครั้ง (5.9 ครั้ง/1,000ใบสั่ง) ต่อมาในปี พ.ศ.2561 ป้องกันได้ 2,697 ครั้ง
(7.4 ครั้ง/1,000ใบสั่ง) และในปี พ.ศ.2562 ป้องกันได้ 3,101 ครั้ง (8.4 ครั้ง/1,000 ใบสั่ง) โดยความคลาดเคลื่อน
ทางยาที่ป้องกันได้ 3 อันดับแรก คือ 1) ไม่ได้รับยาที่สมควรได้รับ 2) ได้รับยาที่มีขนาดและวิธีการให้ยาไม่เหมาะสม
และ 3) ได้รับยาซ้ำซ้อน รายการยาที่ป้องกันได้มากที่สุด คือ warfarin เพิ่มขึ้นจาก 69 ครั้งในปี 2559 เป็น 149 ครั้ง
169 และ 146 ครั้ง ในปี 2560 ถึง 2562 ตามลำดับ
บทเรียนที่ได้รับ : ระบบที่พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาได้เพิ่มมากขึ้น
และช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยเพิ่มขึ้น สามารถนำแนวคิดในการวางระบบแต่ละเรื่องไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบท
ของแต่ละโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถค้นหาป้องกันปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยาไม่ให้เกิดกับผู้ป่วยได้
คำสำคัญ : ความคลาดเคลื่อนทางยา, งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก