Page 123 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 123
119
05-04 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การศึกษาและพัฒนาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอกเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ของผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพวง
ผู้นำเสนอ : พลอยไพลิน คูณกระโทก ตำแหน่ง : เภสัชกรปฏิบัติการ
E-mail : drug.cp@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4447 7281 ต่อ 402
หน่วยงาน : กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : ความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงพยาบาล โดยเป็นความเสี่ยง
ที่ป้องกันได้ ความคลาดเคลื่อนทางยาเกิดได้ทุกกระบวนการการใช้ยา โดยความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (Prescription
error) เป็นความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจากความผิดพลาดในการสั่งใช้ยา สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้เรื่องยาไปจนถึง
ความไม่เข้าใจถึงระบบการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา มีระบบการจัดการ
ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาและวางแนวทางสู่การปฏิบัติบ้างแล้ว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะทำการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อนำข้อมูล
ไปใช้ประกอบการวางแผน แก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาระบบงาน และกำหนดแนวทางการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา
ของโรงพยาบาล และนำไปสู่ความปลอดภัยในกระบวนการใช้ยาของระบบยาโรงพยาบาลชุมพวงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study)
ศึกษาจากใบสั่งยาของผู้ป่วยนอกทุกราย เก็บวิเคราะห์ข้อมูลช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562 โดยเก็บข้อมูล
จากการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาผู้ป่วยนอกทุกเดือน และจำนวนใบสั่งยาผู้ป่วยนอก นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
(root cause analysis) โดยใช้แผงผังก้างปลา (Fish bone diagram) แยกประเภทของสาเหตุ เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัย
ในการใช้ยา แล้วเก็บข้อมูลช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 – 30 กันยายน 2562 ใช้เป็นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการ
กิจกรรมการพัฒนา : จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์ จากการใช้แผงผังก้างปลา (Fish bone diagram) พบว่า
Prescribing error ของผู้ป่วยนอกส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการสั่งยาผิดขนาด เช่น 1) เขียนขนาดยาที่สั่งในสมุดประจำตัวผู้ป่วย
ไม่ตรงกับการสั่งในระบบ HosXp (ผู้ป่วย NCDs) 2) สั่งยาในเด็กขนาดยาไม่ถูกต้อง 3) สั่งยาไม่ได้ปรับขนาดยา
ตามค่าการทำงานของไต เป็นต้น โดย ณ ข้อมูลช่วงที่ 1 มีจำนวน Prescribing error ทั้งหมด 522 ครั้ง คิดเป็น 7.19
ต่อ 1,000 ใบสั่งยา (เกณฑ์ต้องไม่เกิน 3 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา) ซึ่งไม่ผ่านตัวชี้วัดของโรงพยาบาล แบ่งเป็นความคลาดเคลื่อน
ระดับ A-B จำนวน 519 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 99.43 และระดับ C ขึ้นไป (ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีถึงแค่ระดับ C-D) จำนวน 3 ครั้ง
คิดเป็นร้อยละ 0.57
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ช่วงที่ 2 หลังจากมีการวางแนวทางการแก้ไข ป้องกันและวางแนวปฏิบัติร่วมกับทีมแพทย์
เช่น กำหนดให้แพทย์เขียนรายการยาเฉพาะครั้งแรกที่ขึ้นหน้าสมุดใหม่ (ผู้ป่วย NCDs) หลังจากนั้นให้เขียน RM และรายการ
ที่เพิ่มลดยา กำหนดให้ใช้เอกสารอ้างอิงเดียวกันเป็นฐานข้อมูลของโรงพยาบาลในการสั่งยาในเด็ก จัดทำโปรแกรมคำนวณค่า CrCl
อัตโนมัติบนฐานข้อมูล HOsXP เพื่อใช้ในการปรับขนาดยาให้เหมาะสม และกำหนดให้มีรายการยาที่ต้องประเมิน DUE ให้แพทย์
ทำการประเมินข้อบ่งใช้ คำนวณขนาดยาที่ถูกต้องพร้อมแนบแบบประเมินก่อนส่งรับยาทุกครั้ง และจัดทำ Pop-Alert แสดงขนาดยา
บางรายการที่ปรับขนาดตามค่า eGFR/CrCl เพื่อประกอบการสั่งใช้ยา เป็นต้น ผลพบว่า จำนวน Prescribing error ลดลง โดยมีจำนวน
ทั้งหมด 308 ครั้ง คิดเป็น 3.85 ต่อ 1,000 ใบสั่งยา แบ่งเป็นระดับ A-B จำนวน 307 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 99.68 และระดับ C ขึ้นไป
(ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีถึงแค่ระดับ C-D) จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.32 ตามลำดับ
บทเรียนที่ได้รับ : การศึกษาและกำหนดแนวทางและแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบการป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา
ในผู้ป่วยนอก ร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ ทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน สามารถทำให้ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจากการสั่งใช้ยา
มีจำนวนลดลง และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ช่วงที่น้อยกว่า ช่วงของเกณฑ์ตัวชี้วัดโรงพยาบาลได้ หากมีการปฏิบัติตามแนวทาง การรวบรวม
ข้อมูลและประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมพวง
คำสำคัญ : พัฒนาระบบ, ความคลาดเคลื่อนทางยา, ความปลอดภัยของผู้ป่วย, Prescribing errors Patient safety