Page 128 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 128

124


               05-09  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การศึกษาอันตรกิริยา ( Drug interaction) ยาลดความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแก้งสนามนาง
               ผู้นำเสนอ : พิชัย พงศ์กิตติ์รพี      ตำแหน่ง : เภสัชกร

               E-mail : winnerk22@gmail.com        เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4433 9083 ต่อ 209
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 4027 7011   ID line : winner_sun
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : ในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในปัจจุบัน การใช้ยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาล
               ชุมชน กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่ (High volume) ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
               โรงพยาบาลแก้งสนามนางเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง กลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการมากที่สุดเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน
               โรคความดันโลหิตสูง ยาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มยาที่มีจำนวนกลุ่มยามากที่สุดในโรงพยาบาล ซึ่งการใช้ยา
               กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง มีการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตหลายกลุ่มร่วมกัน การศึกษาอันตรายกิริยา

               ของยากลุ่มยาโรคความดันต่อยาอื่น ๆ หรือยาโรคความดันโลหิตสูง มีความสำคัญและจำเป็น เพื่อให้ผู้ได้รับยา
               มีความปลอดภัยจากการใช้ยา และไม่เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตจากยาที่เป็น Fetal Drug interaction
               กิจกรรมการพัฒนา : 1) ค้นหา และรวบรวมข้อมูลการสั่งใช้ยากลุ่มยาลดความดันโลหิตสูงที่มีการบันทึกเวชระเบียน
               ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Hosxp  2) ทบทวนข้อมูลวิชาการ 3) วิเคราะห์ข้อมูลยาจากที่สืบค้นจากระบบเวชระเบียน
               คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Hosxp  เพื่อค้นหาอันตรกิริยา และ 4) สรุปผลการศึกษา แจ้งผู้สั่งใช้ยาและทีมสหวิชาชีพ
               เพื่อเฝ้าระวังและวางแนวทางป้องกัน
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : เชิงปริมาณ 1) คู่มือข้อมูลเภสัชวิทยา และอันตรกิริยาของกลุ่มยา
               ลดความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแก้งสนามนาง และ 2) วิธีการปฏิบัติสำหรับสหสาขาวิชาชีพเรื่อง Drug interaction

               เชิงคุณภาพ 1) ผลการศึกษาอันตรกิริยายากลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้ 1.1) ผลการศึกษากลุ่มยาและรายการยา
               โรคความดันโลหิตสูงที่ผู้ป่วยได้รับ 1.2) ผลการศึกษากลุ่มยาและรายการยาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยได้รับ 1.3) ผลการศึกษา
               จำนวนครั้งอันตรกิริยาของยา (Drug interaction) ระหว่างกลุ่มยาโรคความดันโลหิตสูงแต่ละกลุ่มที่มีรายงานว่า
               เกิดที่ผู้ป่วยได้รับ และ 1.4) ผลการศึกษาจำนวนครั้งอันตรกิริยาของยา (Drug interaction) ระหว่างกลุ่มยา
               โรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มยาอื่น ๆ ที่มีรายงานว่าเกิดที่ผู้ป่วยได้รับ
               บทเรียนที่ได้รับ : การค้นหาและรวบรวมข้อมูล ต้องมีการออกแบบรายงานเพื่อสืบค้นข้อมูลและข้อมูลมีจำนวนมาก
               การสื่อสารผลการศึกษาแก่ผู้สั่งจ่ายและทีมสหวิชาชีพ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางระบบป้องกันและระมัดระวัง
               ในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยสูงสุด (Patient Safety Goal)
               คำสำคัญ : อันตรกิริยาระหว่างยา
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133