Page 131 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 131

127


               05-12  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : ลดการแพ้ยารุนแรง ด้วยคำแนะนำและติดตามจากเภสัชกร
               เจ้าของผลงาน :  บุณฑริกา กลิ่นศรีสุข        ตำแหน่ง : เภสัชกร

               E-mail :  boontharika_013@hotmail.com       เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4439 7111 ต่อ 104
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 1496 9877          ID line : -
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : จากการเก็บข้อมูลของ รพ.ขามทะเลสอ ในปี พ.ศ.2560-2561 พบการเกิดอาการ
               ไม่พึงประสงค์จากยาที่ร้ายแรง (serious ADR) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายชั่วคราว ต้องมีการบำบัดรักษา, ผู้ป่วย
               ต้องพักรักษาตัวใน รพ. หรือทำให้ระยะเวลาในการนอน รพ.นานขึ้น รวม 7 ครั้ง ทั้งหมดเกิดจากการใช้ยา
               ที่มีความเสี่ยงในการแพ้ยารุนแรง ได้แก่ Co-trimoxazole, Phenytoin, GPO-VIR, Allopurinol แบ่งเป็นอาการ
               ไม่พึงประสงค์แบบ Stevens-Johnson Syndrome (SJS) 3 ครั้ง, Toxic Epidermal Necrolysis (TEN) 4 ครั้ง

               ซึ่งอาการแพ้ยารุนแรงนี้ลดและป้องกันได้ หากผู้ป่วยมีความรู้ สังเกตอาการก่อนที่จะแพ้ยารุนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วย
               ที่ได้รับยาครั้งแรก วิเคราะห์สาเหตุการเกิด serious ADR ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากเภสัชกรไม่ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย
               บางราย เนื่องจาก 1) จำรายการยาที่ต้องให้คำแนะนำไม่ได้ 2) ไม่ทราบว่าเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาครั้งแรก
               3) ลืมจึงนำมาสู่การพัฒนาระบบที่ช่วยกระตุ้นเตือนเภสัชกรให้ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น
               กิจกรรมการพัฒนา : เริ่มดำเนินการปี 2562 1) กำหนดรายการยาที่มีความเสี่ยงในการแพ้ยารุนแรงให้ชัดเจน
               2) พัฒนาระบบสารสนเทศ โดยกำหนดให้แจ้งเตือนผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงในการแพ้ยารุนแรงเป็นครั้งแรก
               ในใบสั่งยา และ pop-up แจ้งเตือนรายการยาที่ต้องได้รับคำแนะนำในโปรแกรม HOSxP 3) จัดทำแนวทางปฏิบัติ
               โดยกำหนดให้เภสัชกรที่พบผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้เป็นครั้งแรก (พิจารณาข้อมูลจากใบสั่งยาหรือประวัติรับยา)

               ต้องให้คำแนะนำ มอบบัตรเฝ้าระวังการแพ้ยาที่รุนแรงให้แก่ผู้ป่วย  และ 4) ติดตามผู้ป่วยหลังจากได้รับยา 2 สัปดาห์
               ถึง 2 เดือน หรือตามการนัดหมายของแพทย์
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

                           ความครอบคลุมในการให้ค าแนะน าแพ้ยารุนแรง      จ านวนการเกิดอาการ SJS, TEN
                     100                          82 80 78    2.5
                                       52  43 42                         2       2   2
                      50   28  20 20                           2
                                                              1.5    1
                       0                                       1
                             ปี 2560    ปี 2561    ปี 2562
                                                              0.5                            0  0
                         ผู่ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงในการแพ้ยารุนแรงครั้งแรก (คน)  0
                                                                     ปี 2560     ปี 2561     ปี 2562
                         ผู้ป่วยที่ได้รับค าแนะน าจากเภสัชกร (คน)
                         ผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามผลการใช้ยา (คน)               SJS  TEN

               บทเรียนที่ได้รับ : การให้คำแนะนำและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงในการแพ้ยารุนแรง

               โดยเภสัชกร มีผลลดอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ร้ายแรง (serious ADR) ได้, การพัฒนา
               ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมช่วยลดขั้นตอน และความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน, ผู้ป่วยสามารถเฝ้าระวังการแพ้ยาได้
               เมื่อได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร
               คำสำคัญ : อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ร้ายแรง
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136