Page 133 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 133

129


               05-14  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : ผลการวางระบบการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลประทาย
               ผู้นำเสนอ : หนึ่งฤทัย พื้นผา        ตำแหน่ง : เภสัชกร
               E-mail : nuengjai.rx22@gmail.com    เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4448 9011
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 6247 5287   ID line : -
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลประทาย จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ :  โรคหัวใจเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
               ซึ่งมีผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินรวมอยู่ด้วย ข้อจำกัดของผู้ป่วยวาร์ฟารินในการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ คือ ต้องฉีดยาที่ค่า INR

               น้อยกว่า 3.00 และต้องติดตามภาวะเลือดออกหลังฉีดยาอย่างน้อย 30 นาที จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยวาร์ฟาริน
               เข้าถึงยาได้น้อยในช่วงของการรณรงค์ พบว่า ในปี 2561 ผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้าถึงยาเพียงร้อยละ 45.05
               และป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 1 ราย ดังนั้นในปี 2562 ทีมผู้ดูแลคลินิกวาร์ฟารินจึงมีการทบทวนและปรับปรุงระบบ
               เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นและวางระบบติดตามหลังฉีดวัคซีนให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
               กับผู้ป่วย
               กิจกรรมการพัฒนา :
                   -  ประชุมทีมเพื่อปรับปรุงระบบการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยวาร์ฟาริน
                   -  ปรับระยะเวลาการรณรงค์การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จาก 1 เดือนเป็น 3 เดือน
                   -  ปรับปรุงแบบฟอร์มไข้หวัดใหญ่ของโรงพยาบาลให้เป็นแบบฟอร์มเฉพาะของผู้ป่วยวาร์ฟาริน

                   -  เภสัชกรเชื่อมทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยเข้ากับแบบฟอร์มการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม
                       Microsoft Excel และ Microsoft Word เพื่อให้ได้แบบฟอร์มที่มีชื่อ และเลขบัตรประชาชนผู้ป่วย
                   -  พยาบาลบันทึกค่า INR ในแบบฟอร์ม และให้ข้อมูลการฉีดวัคซีนเบื้องต้นกับผู้ป่วย
                   -  แพทย์ให้ข้อมูลผู้ป่วยทุกราย ถ้าผู้ป่วยสมัครใจ แพทย์สั่งยาพร้อมลงรหัส ICD10 ใน  HOSxP
                   -  ห้องยาจ่ายวัคซีนให้กับผู้ป่วยพร้อมติดสติ๊กเกอร์เลขลำดับขวดวัคซีนที่แบบฟอร์มการฉีดวัคซีน
                   -  เภสัชกรให้คำแนะนำในการติดตามและมอบแบบบันทึกอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วัคซีนแก่ผู้ป่วย
                   -  พยาบาลห้องฉุกเฉินประเมินค่า INR  อีกครั้งก่อนฉีดยาให้ผู้ป่วย พร้อมติดตามอาการไม่พึงประสงค์

                       หลังฉีด 30 นาที ส่งผู้ป่วยกลับมารับยาโรคประจำตัวที่ห้องยา
                   -  แบบฟอร์มการฉีดวัคซีนส่งคืนที่ห้องยา และแบบฟอร์มติดตามอาการไม่พึงประสงค์ส่งในนัดครั้งถัดไป
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : ในปี 2561 ผู้ป่วยสมัครใจรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 45.05 (50) ปฏิเสธวัคซีน
               ร้อยละ 37.83 (42) และเข้าไม่ถึงวัคซีนร้อยละ 17.12 (19) หลังปรับระบบการรับวัคซีน พบว่า ในปี 2562 มีผู้ป่วยสมัครใจ
               รับวัคซีน และสามารถฉีดวัคซีนได้เพิ่มขึ้นจากการขยายระยะเวลารณรงค์ เป็นร้อยละ 64.23 (88) มีคนไข้ปฏิเสธวัคซีนลดลง
               เป็นร้อยละ 35.77 (49) ในด้านความปลอดภัย พบว่า ค่าเฉลี่ย INR ก่อนฉีดยาเท่ากับ 2.15 + 0.40 และค่าเฉลี่ย INR
               ในนัดครั้งถัดไปหลังฉีดยาเท่ากับ 2.32 +0.63  ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดยา 30 นาทีที่ห้องฉุกเฉิน  ไม่พบผู้ป่วย
               กลับมาก่อนนัดด้วยภาวะเลือดออก หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่บ้าน
               พบร้อยละ 5.68 (5)
               บทเรียนที่ได้รับ : การเพิ่มระยะเวลาในการรณรงค์การฉีดวัคซีนส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงวัคซีนได้เพิ่มขึ้น และการจัดการ

               อย่างเป็นระบบส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการใช้ยาทั้งผู้สั่งใช้ ผู้ทำหัตถการ และผู้รับบริการ
               คำสำคัญ : วัคซีน  ไข้หวัดใหญ่ วาร์ฟาริน ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138