Page 137 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 137

133


               05-18  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล(Antibiotic Smart Use)ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
                        ส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และบาดแผลสดที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลจักราช

               เจ้าของผลงาน :  วันเพ็ญ บูรณวานิช
               E-mail : pajun_12@hotmail.com       เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 9864 6093
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินต้องตรวจรักษาผู้ป่วยทุกประเภทจากข้อมูลการให้ยาปฏิชีวนะ
               ที่ไม่สมเหตุผลของผู้ป่วยเนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง Antibiotics Smart Use ยังน้อย
               ร่วมกับความคาดหวังของผู้ป่วยในการได้รับยาปฏิชีวนะจึงเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้จ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วย
               มากเกินความจำเป็น จากการทบทวนผู้ป่วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ
               ข้อมูลการให้ยาปฏิชีวนะของผู้ป่วย ในปีงบประมาณ 2560-2561 มีอัตราที่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีการจ่ายยาปฏิชีวนะ

               ในผู้ป่วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจส่วนบนร้อยละ 38.65, 27.99 และ 24.49 ตามลำดับโรคท้องร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 45.49,
               29.77 และ 25.96 ตามลำดับ และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุร้อยละ 64.18, 58.04 และ 53.32 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง
               ค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นแล้ว  และยังทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการแพ้ยาและดื้อยาอีกด้วย
               กิจกรรมการพัฒนา : ประชุมชี้แจงนโยบายและปรึกษาปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยเกินความจำเป็นในแผนก
               ทบทวนกระบวนการรักษาการใช้ยา Antibiotic เพื่อหาจุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา ศึกษารูปแบบการสื่อสาร
               ให้ทีมทราบและตระหนักในการใช้ยาปฏิชีวนะการสั่งจ่ายยา  และการลงบันทึก ICD 10 ที่ถูกต้อง นำรูปแบบ
               ของกิจกรรมมาทดลองใช้ในหน่วยงาน ทดลองแนวทางการปฏิบัติ (มี 3 วงล้อกิจกรรม) สรุปและประเมินผล
               ตามตัวชี้วัดทุก 3 เดือนแล้ว แล้วประเมินผลเปรียบเทียบกับระบบเดิมว่าอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็น

               ลดลงหรือไม่ และพัฒนากับทีมหลังการประเมินผลเพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : เมื่อดำเนินการพัฒนาโดยกำหนดเกณฑ์การใช้ที่ชัดเจน พบว่า อัตรา
               การใช้ Antibiotic ลดลงกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ลดลงเหลือร้อยละ 8.76 ท้องร่วงเฉียบพลัน
               ลดลงเหลือร้อยละ 13.16 และบาดแผลสดจากอุบัติเหตุลดลงเหลือร้อยละ 43.20 ทำให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมาย
               ที่วางไว้ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ลดการพัฒนาของเชื้อโรค
               ที่จะมีผลต่อการดื้อยาได้
               บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลใน 3 กลุ่มโรคในช่วงแรกอาจยังไม่ลดลงชัดเจน
               เนื่องจากปัจจัยหลายประการเจ้าหน้าที่กังวลใจ ถ้าไม่จ่ายยากลัวผู้ป่วยจะติดเชื้อ ผู้ป่วยบางรายมีความเชื่อว่า
               ต้องใช้ยาปฏิชีวนะถึงจะไม่ติดเชื้อ เจ้าหน้าที่ต้องให้คำแนะนำ และชี้แจงแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลในเรื่องการใช้ยา

               หลังจากได้นำข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่ได้พัฒนามาทบทวนและปฏิบัติได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแล้ว จึงจะขยายผล
               นำไปใช้เผยแพร่แนวทางให้หน่วยงานอื่น ๆ ร่วมตระหนักและดำเนินตามแนวทางเช่นแผนกผู้ป่วยนอก และรพ.สต.
               เพื่อให้ใช้ Antibiotic smart use เกิดการพัฒนาและบรรลุตาม เป้าหมายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
               คำสำคัญ : ASU  Antibiotic Smart Use
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142