Page 142 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 142
138
06-03 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย
spinal unit
ผู้นำเสนอ : กฤติญดา ปรีดานันต์
E-mail : ponnitar@hotmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4423 5135, 0 4423 2233
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 6979 1692 ID line : ponnitar
หน่วยงาน : งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : การได้รับบาดเจ็บไขสันหลังเป็นภาวะคุกคามต่อชีวิต ครอบครัว และสังคม นำมาซึ่ง
ความพิการและเสียชีวิต ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันตามระดับการบาดเจ็บไขสันหลัง เสี่ยงต่อการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ภาวะข้อติดแข็ง ภาวะติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ และภาวะปอดแฟบ เป็นต้น งาน
กายภาพบำบัดมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยที่ได้บาดเจ็บของไขสันหลังระยะวิกฤต จากการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่า
ผู้ป่วยบางรายมีภาวะแทรก ซ้อนเกิดขึ้นและพบว่ายังไม่มีเป้าหมายในการดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดที่ชัดเจนและไม่
สอดคล้องกับระดับการบาด เจ็บไขสันหลัง นักกายภาพบำบัดจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการ
ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตให้เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพขึ้น
กิจกรรมการพัฒนา : 1. จัดประชุมทีมเพื่อจัดทำแนวทางการดูแลทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะ
วิกฤตในหอผู้ป่วย spinal unit ให้สอดคล้องกับระดับการบาดเจ็บไขสันหลังในรูปแบบ Clinical Practice Guideline
2. ดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย spinal unit ตามแนวทางที่กำหนด
3. ติดตามผลการรักษาทางกายภาพบำบัดและผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา
4. รวบรวมผล วิเคราะห์ผล ปัญหาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไป และสรุปผลการดำเนินงาน
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : 1. นักกายภาพบำบัดปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
ระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย spinal unit ได้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100
2. การดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย spinal unit บรรลุ
เป้าหมายตามแนวทางการรักษามากกว่าร้อยละ 70 จากผลการดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วย
บาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย spinal unit ตั้งแต่เดือนพ.ค. – ก.ย. 2562 บรรลุเป้าหมายตาม
แนวทางการรักษา ร้อยละ 84.61
3.นักกายภาพบำบัดสามารถป้องกันอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยพบอัตราการเกิดภาวะข้อติดแข็งใน
ผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละ 30 และเกิดภาวะปอดแฟบน้อยกว่าร้อยละ20 จากผลการดำเนินงานพบผู้ป่วยที่มี
ภาวะข้อติดแข็ง ร้อยละ 15 และไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะปอดแฟบ ซึ่งบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
บทเรียนที่ได้รับ : มีการจัดทำแนวทางการดูแลทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤตในหอผู้ป่วย
spinal unit สอดคล้องกับระดับการบาดเจ็บไขสันหลังและเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการติดตามผลการรักษาและผล
การเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการสอนแก่ญาติ เป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการ
ทำกายภาพบำบัด มีผู้ป่วยบางรายไม่พบญาติ จึงมีการแก้ไขปัญหา คือ การโทรศัพท์ติดต่อกับญาติผู้ป่วยโดยตรงเพื่อ
นัดหมายการสอน การดำเนินงานครั้งนี้ยังไม่มีการวางแผนการติดตามผู้ป่วยหลังจากผู้ป่วยย้ายออกจาก spinal unit
จึงควรมีการจัดทำแนวทางการติดตามจนผู้ป่วยออกจากรพ. และประสานกับนักกายภาพบำบัดชุมชนเพื่อเยี่ยมบ้าน
คำสำคัญ : กายภาพบำบัด, ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะวิกฤต, spinal unit