Page 147 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 147

143


               06-08  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การศึกษาความถี่ในการนัดสัมพันธ์กันกับการลดลงของอาการปวดในผู้ป่วยกลุ่มโรค Muscle strain
               ผู้นำเสนอ : ดวงใจ วัชรินทร์รัตน์     ตำแหน่ง:  นักกายภาพบำบัดชำนาญการ

               เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4437 9311 ต่อ 213
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 08 9946 8923
               หน่วยงาน : งานเวชกรรมฟื้นฟูและแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : จากข้อมูลการให้บริการทางกายภาพบำบัดของฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟูและแพทย์แผนไทย
               โรงพยาบาลโนนสูง พบว่าผู้ป่วยกลุ่ม Muscle strain มีมากเป็นอันดับ 1 ของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่มา
               ใช้บริการทางกายภาพบำบัดจากการศึกษาพบว่าใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ไม่สามารถ Discharge จากการรักษา
               ทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้ ทำให้มีการสะสมจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกเดือน
               กิจกรรมการพัฒนา : ผู้ป่วยที่มีความถี่ในการทำกายภาพบำบัด >3 ครั้ง/สัปดาห์มีระดับความเจ็บปวด (Verbal Pain

               score) โดยเฉลี่ยลดลงอย่างน้อย 4 ระดับภายใน 1 เดือน, ผู้ป่วยที่มีความถี่ในการทำกายภาพบำบัด >3 ครั้ง/สัปดาห์
               จะสามารถ Discharge จากการทำกายภาพบำบัดได้ภายใน 1 เดือน, ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรักษา > 80 %,
               ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างรักษา 0 ครั้งและผู้ป่วยที่จะกลับมาปวดซ้ำ (Recurrent Pain) ภายใน 6 เดือน
               จำนวน 0 รายจัดโปรแกรมการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย Muscle strain ที่มีระดับความเจ็บปวดมาก (Pain score)
               ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่นัดมาแบบวันเว้นวัน (>3ครั้ง/สัปดาห์) กับกลุ่มที่นัดอาทิตย์ละครั้ง (<1 ครั้ง/สัปดาห์) ใน
               แต่ละกลุ่มจะให้โปรแกรม Home Program การประคบเย็น ออกกำลังกาย การปฏิบัติตนรายบุคคลทุกรายและ
               ประเมิน Pain score ทุกครั้งเพื่อประเมินอาการปวดในแต่ละครั้งที่มารับบริการทางกายภาพบำบัด
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : พบว่าการทำกายภาพบำบัดในความถี่ที่มากขึ้น (>3ครั้ง/สัปดาห์) จะ

               สามารถลดระดับความเจ็บปวดได้ 4 ระดับโดยเฉลี่ยได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยกลุ่ม
               Muscle strain ที่มีการทำกายภาพบำบัดในความถี่ที่น้อยกว่า (<1 ครั้ง/สัปดาห์) ซึ่งมีระดับความเจ็บปวดลดลง 4
               ระดับโดยเฉลี่ย ภายใน 6 เดือนและยังพบว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการรักษาทางกายภาพบำบัดในกลุ่มที่นัด >3 ครั้ง/
               สัปดาห์ จะเท่ากับ 15.3 วัน(ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่มาเท่ากับ 5.3 ครั้ง)ซึ่งจะใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับอีกกลุ่ม
               ที่ใช้ระยะเวลาถึง 65.63 วัน (ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่มาเท่ากับ 11 ครั้ง) ถึงจะ Discharge ผู้ป่วยได้ ผลความพึงพอใจใน
               การทำกายภาพบำบัดพบว่ากลุ่มที่นัด >3ครั้ง/สัปดาห์ มีความพึงพอใจเท่ากับ 94.38 %เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มจะ
               เท่ากับ 82.50 % และทั้ง 2 กลุ่มไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะให้การรักษาและไม่พบว่ามี Recurrent Pain ใน 6 เดือน
               แต่นอกจากความถี่ในการนัดมาทำกายภาพบำบัดแล้ว การประคบร้อน/เย็น การให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย
               และการปฏิบัติตัวเพื่อลดการเกิดอาการเจ็บปวดซ้ำ และควรทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดจะทำให้ประสิทธิภาพ

               ในการลดระดับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น
               บทเรียนที่ได้รับ : การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย Acute pain ในความถี่ต่อเนื่องทุกวันหรือวันเว้นวันและให้ Home
               Program ที่มีประสิทธิภาพ มีผลต่อการลดระดับความเจ็บปวดได้ดี ภายใน 1 เดือน และสามารถ Discharge ผู้ป่วยได้
               เร็วขึ้น
               คำสำคัญ : ปัจจัยที่ผลต่อการลดระดับความปวด, ความถี่ในการนัดมารับบริการทางกายภาพบำบัด
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152