Page 143 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 143

139


               06-04  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : โคลนสมุนไพร
               ผู้นำเสนอ : พัชรียา ตีบกลาง         ตำแหน่ง : แพทย์แผนไทย

               เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4475 6175 ต่อ 502
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ  :  กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อถือเป็นกลุ่มโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มารับบริการ
               แพทย์แผนไทย ได้แก่อาการปวดกล้ามเนื้อบ่า คอ ไหล่ ข้อเข่าเสื่อม นอกจากนี้ยังพบว่าอวัยวะเหล่านั้นบางครั้งมีอาการ
               บวมแดงร้อน ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทยอาการดังกล่าวบ่งบอกถึงการมีปิตตะ(ความร้อน)สูง ส่งผลให้วาตะ(ลม)เพิ่ม
               มากขึ้น แต่ไม่สามารถพัดได้สะดวก จึงทำเกิดอาการปวดขึ้นได้ หลักการรักษาที่สำคัญควรเริ่มจากการลดปิตตะ(ความ
               ร้อน) และกระจายความร้อน ซึ่งจะส่งผลให้วาตะ(ลม)ลดลง พัดได้สะดวกขึ้น อาการปวดก็ลดลงตามมาด้วย การพอก
               โคลนสมุนไพรเป็นอีกหัตถการหนึ่งที่สามารถดับพิษร้อน และลดอาการปวดบวมร้อนได้

                กิจกรรมการพัฒนา : งานแพทย์แผนไทยได้ผลิตโคลนสมุนไพร ซึ่งมีส่วนประกอบคือ ผงถ่าน ดินสอพอง เกลือสมุทร
               และน้ำสมุนไพร แล้วใช้ในการให้บริการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดจำนวน 20 คน ทำการประเมินความคิดเห็นของ
               ผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถามที่เป็นข้อคำถามแบบมาตราประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ โดยกำหนดคะแนน 1 ไม่
               เห็นด้วย 2 เห็นด้วยน้อย 3 เห็นด้วยปานกลาง 4 เห็นด้วยมาก และ 5 เห็นด้วยมากที่สุด แล้วแปรผลคะแนนทั้งหมด
               เป็น 5 ช่วงระดับ โดยใช้หลักการทางสถิติ ได้แก่ พิสัย/จำนวนชั้น = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด)/5 การแปลช่วง
               ระดับคะแนนคือ 0.80–1.60=น้อยที่สุด, 1.61–2.41=น้อย, 2.42–3.22=ปานกลาง, 3.23–4.03=มาก, 4.04–5.00=
               มากที่สุด
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง  :  จากการประเมินความคิดเห็นของผู้ป่วยในการใช้โคลนสมุนไพร  พบว่า

               ผู้ป่วยสามารถใช้โคลนสมุนไพรได้โดยไม่เกิดอันตรายในระดับ มากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.60) ขั้นตอนในการพอกโคลน
               ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ระดับ มากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.70) ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงหลังพอกโคลนสมุนไพรในระดับ มาก
               ที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.25) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการใช้โคลนสมุนไพรในระดับ มากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.55)
               บทเรียนที่ได้รับ  :  โคลนสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำหัตถการ  หากอาการผู้ป่วยอยู่ในภาวะเฉียบพลันที่ไม่
               สามารถทำหัตถการนวดได้ทันที  และเป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการให้บริการการรักษา
               ผู้ป่วย
               คำสำคัญ : โคลนสมุนไพร
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148