Page 148 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 148

144


               06-09  Poster Presentation

               ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบบริการ Post Stroke IMC
               ผู้นำเสนอ : จิราพร ยงเพชร

               E-mail : far8381@hotmail.com
               เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 09 0279 8395
               หน่วยงาน : โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

               ความเป็นมาและความสำคัญ : จากข้อมูลปี 2559-2561ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)อำเภอสูงเนิน มีอัตรา
               เพิ่มมากขึ้นทุกปีและส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุอัตราการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระหว่างนอนรพ.มีแนวโน้ม
               เพิ่มขึ้น แต่อัตราการฟื้นฟูฯต่อเนื่อง 6 เดือน ยังไม่ถึงร้อยละ 70 โดยปี 2562 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการ
               ฟื้นฟูฯระหว่างนอนรพ.ร้อยละ 97.9 ได้รับการฟื้นฟูฯต่อเนื่อง 6 เดือน ร้อยละ 54.9และติดตามเยี่ยมโดยทีมชุมชน
               ร้อยละ 98.6ทั้งนี้จากการทบทวนข้อมูลการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน ที่ฟื้นฟูฯต่อเนื่อง

               ทั้งแบบผู้ป่วยนอก และจากการเยี่ยมบ้านปี 2560-2561 พบว่าร้อยละ 25 มีภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ รวมถึงผู้ดูแล
               และญาติขาดความรู้การช่วยเคลื่อนย้าย การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับปัญหา เมื่อฟื้นฟูฯครบ 6 เดือน ผู้ป่วย
               ส่วนหนึ่งสูญเสียความสามารถในการใช้มือ เดินได้แต่ไม่มั่นคง งานกายภาพบำบัดจึงมองเห็นความสำคัญในการป้องกัน
               ภาวะแทรกซ้อน  โดยเน้นในกลุ่ม Barthel index < 75 และกลุ่ม multiple complication
               กิจกรรมการพัฒนา : 1)กายภาพบำบัดออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีม IMC (BI <75) 2)อบรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้กับ
               เวรเปล ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด และทีมภาคีเครือข่าย จิตอาสา อผส และ Care giver 3) ประเมินผลด้วย Barthel
               Index
               การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง : พบว่า ผู้ป่วย post stroke ปี 2559-2560 ที่ได้รับการฟื้นฟูฯต่อเนื่อง และ

               มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น ประเมินด้วย Barthel index (BI) ปี2559 เพิ่มขึ้น 15.3 คะแนน
               และ 21.92 คะแนน ปี 2562 มีกลุ่ม Post stroke นอนรพ.จำนวน ได้รับการฟื้นฟูฯทัน 72 ชม. ร้อยละ 98 หลังจาก
               จำหน่ายจาก รพ. ได้รับการฟื้นฟูฯ 79 ราย แบ่งเป็นกายภาพบำบัดเยี่ยมบ้านร่วมกับทีม IMC 47 ราย และมาฟื้นฟูฯ
               แบบ OPD 32 ราย คิดเป็น 65.2% โดยคะแนน BI ก่อนและหลังการฟื้นฟูฯต่อเนื่องใน 6 เดือน ผู้ป่วยกลุ่ม BI <75ที่
               ได้รับการฟื้นฟูฯต่อเนื่องมีค่า BI เพิ่มขึ้น 23 คะแนน 55 ราย และผู้ป่วยกลุ่ม BI >75 ที่ได้รับการฟื้นฟูฯต่อเนื่อง มีค่า
               BI เพิ่มขึ้น 9 คะแนน 24 ราย ในขณะที่กลุ่ม BI>75 ไม่ฟื้นฟูฯไม่มีรายงานค่า BI ที่เพิ่มขึ้น 27 ราย กลุ่ม Post stroke
               ที่ไม่ได้ฟื้นฟูฯต่อเนื่อง ในปี 2562 มี 63 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่มีคะแนน BI= 90 คะแนน 27 ราย พบว่าได้มีการประเมิน
               และจำหน่ายโดยแพทย์ กลุ่ม IMCที่มีคะแนน BI เฉลี่ย 61 คะแนน ไม่ได้ฟื้นฟูฯ มี 21 ราย กลุ่ม Palliative care มี
               คะแนน BI เฉลี่ย 3 คะแนน ไม่ได้ฟื้นฟูฯ 6 ราย กลุ่ม Re-admit มี BI เฉลี่ย 40 คะแนน ไม่ได้ฟื้นฟูฯจำนวน 4 ราย

               และกลุ่มที่เสียชีวิต BI เฉลี่ย 7 คะแนน จำนวน 5 ราย และผู้ป่วยนอกพื้นที่ กลับภูมิลำเนาหลังจากจำหน่าย 5 ราย
               สรุปได้ว่า ผู้ป่วย Post stroke ที่ได้รับการฟื้นฟูฯต่อเนื่อง 6 เดือน ผล Barthel index เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ระดับ
               (5/100)= 79 ราย คะแนนเฉลี่ยเพิ่ม 9-23 คะแนน
               บทเรียนที่ได้รับ : จุดแข็ง 1.พัฒนาการจัดวางระบบการดูแลและพัฒนาคุณภาพงาน IMC 2.การเยี่ยมบ้านได้พบ
               ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการฟื้นฟูฯผู้ป่วย เกิดการประสานงานร่วมกับทีม COC ทีมชุมชน อบต.เพื่อปรับ
               สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย 3.แพทย์ช่วยแยกกลุ่มฟื้นตัวดี (BI>80 ใน IPD) ออกในช่วงนัดตรวจติดตามหลัง
               จำหน่าย ทำให้การเข้าถึงบริการฟื้นฟูฯ เป็นกลุ่มที่จำเป็น จุดอ่อน 1.จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถติดตาม

               เยี่ยมได้ครบและไม่ได้ตามกำหนดเวลา 2 สัปดาห์หลังจากจำหน่ายออกจากรพ. ยังมีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สัมพันธ์กับ
               ปัญหาผู้ป่วย
               คำสำคัญ : Post stroke , IMC ,ระบบบริการ
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153