Page 144 - การประชุม HACC Forum ครั้งที่ 13
P. 144
140
06-05 Poster Presentation
ชื่อเรื่อง : ศึกษาอาการปวดกล้ามเนื้อของผู้มารับบริการงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลวังน้ำเขียว ปี 2561
ผู้นำเสนอ : ศัสยมน กังใจ
E-mail : noo99999@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน : 0 4422 8622
เบอร์โทรศัพท์มือถือ : 06 1424 6961 ID line : 0872564787
หน่วยงาน : งานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ความเป็นมาและความสำคัญ : จากรายงานประจำปีโรงพยาบาลวังน้ำเขียว พบว่าสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยกลุ่ม
อาการทางกล้ามเนื้อติดอันดับ 1 ใน 20 ของโรคที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยรหัส M ในปี 2560 – 2561
จำนวน 1,384 และ 1,341 ตามลำดับ (โรงพยาบาลวังน้ำเขียว, 2560) ซึ่งควรนำข้อมมูลมาวิเคราะห์หา
ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วย เพื่อทำการส่งเสริมหรือวางแนวทางในการดูแลสุขภาพต่อไป
การดำเนินการวิจัย : เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล เปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อก่อนและหลังรับบริการ ของผู้มา
รับบริการงานแพทย์แผนไทย จำแนกตามเพศ อายุ และอวัยวะที่ปวด การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้จาก บุคคลที่ได้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทย ในคลินิกแพทย์แผนไทย ที่
โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ในช่วงเดือน มกราคม ถึง ธันวาคม 2561 ทั้งหมด ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ 1 ตำแหน่ง
จำนวน 987 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การนำข้อมูลจากสมุดทะเบียนผู้มารับบริการ ด้าน
การแพทย์แผนไทย ในคลินิกแพทย์แผนไทย มาทำการแปลงโค้ชตัวแปรต่างๆ ในโปรแกรม Excel และวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติอ้างอิง (Inference Statistics) ได้แก่ ANOVA
ผลการวิจัยและอภิปรายผล: ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะทั่วไป ประชากร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ
86.1 มีอายุระหว่าง 50 – 69 ปี ร้อยละ 39.8 อวัยวะที่ปวดจำแนกตามส่วนที่ปวดส่วนใหญ่คือ central line
ร้อยละ 73.9 มีคะแนนปวดก่อนนวด อยู่ในระดับ 5 ร้อยละ 27.9 และมีคะแนนปวดหลังนวด อยู่ในระดับ 2
เท่ากับร้อยละ 29.2
2. ผลการเปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อก่อนและหลังรับบริการ พบว่า อาการปวดกล้ามเนื้อก่อนรับ
บริการมีความแตกต่างกับอาการปวดกล้ามเนื้อหลังรับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p 0.05
3. ผลการเปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อจำแนกตาม อายุ และอวัยวะที่ปวด พบว่า อายุที่แตกต่างกัน
และอวัยวะที่ปวดในจุดที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p 0.05
4. ผลการเปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อของผู้มารับบริการ ของเพศชายและหญิง พบว่าเพศที่แตกต่าง
กัน ไม่มีความแตกต่างกับระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p 0.05
การนำไปใช้ : เพื่อนำไปจัดทำคู่มือการดูแลตนเองเบื้องต้น ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และนำไปประยุกต์
เกี่ยวกับการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยให้เหมาะสม
คำสำคัญ : อาการปวดกล้ามเนื้อ ระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ บริการงานแพทย์แผนไทย